Investor..I need you...

บ้านเดี่ยว ถนนเลียบคลองเสาธงหิน กม ที่สอง นนทบุรี บางใหญ่ ข้างรถไฟฟ้า

อสังหาริมทรัพย์, แลกเปลี่ยนที่อยู่อาศัย ใน ไทย, กรุงเทพและปริมณทล, กรุงเทพ. วันที่ ก.ย. 14

แลกเปลี่ยนที่อยู่อาศัย

GALLERY

Summer hot..hot in UK now..

03/05/2008

great projects of our thailand king...real flagship model that cannot go to business...policy only for activate wisdom....

i try to think that my king try to push up many and many projects into fire poverty out from our nation...hope that this be show how spiritual to do real practical to help our country jump into high security of economic...but why political still make people back into discredit image from this world...the time of real change?many and many projects in intra constructors of thailand still be slow advantage,,,low and lacking of accommodation ...only farfrom big highway from nearest bangkok?show that local administry up to time of changing also,,,,around bangkok and all big agriculture with high industry in big cities must change into special area management...right? really the convenient cannot spread out because of stucking of low discriminate management policy from centre?
กำลังคิดอยู่ว่าการที่เมืองบริวารของกรุงเทพรวมทั้งหัวเมืองใหญ่รอบๆคงหาสิ่งอำนวยความสะดวกยากเพราะปัญหาของการบริหารสี่งการ
หรือเปล่า เพราะสภาพการจัดการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ของการทำงานในระดับออบอตอและเทศบาลไม่สามารถสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้ประชากรในพื้นที่ได้ครบครัน การที่จะมีโทรศัพท์พื้นฐานและถนนดีๆ การระบายน้ำดีๆ หรือขนส่งมวลชนที่ยอดเยี่ยมจึงเป็นไปไม่่ได้ ปัญหาการกระจายอำนาจการบริหารสาธารณูปโภคลงสู้พื้นที่แต่เพียงก้าวพ้นไปจากเขตกรุงเทพมหานครแค่เพียงระยะห่างจากเขตขอบกรุงเทพไม่เกินยี่สิบตารางกิโลเมตรกลายเป็นเรื่องตลก ไม่มีตู้โทรศัพท์ ไม่มีถนนดีๆ หลุมบ่อเต็ม ของดีๆ ไปอยู่ในหมู่บ้านจัดสรรเช่นสวนสาธารณะ สิ่งบรรดาลความบันเทิงใจ รถรับจ้างราคาแพง ออกจากบ้านทีเสียตังค์ออกไปไม่ต่ำกว่าร้อยบาททุกวัน แค่ค่า่รถก็แย่แล้ว ค่ากินอีกละ เขตปกครองพิเศษน่าจะมีมาให้ได้เกินครึ่งของประเทศได้แล้ว ความเจริญจะได้เท่าเทียมกันเสียที ไม่ต้องมาเกี่ยงกัน ว่าเนี่ยงบประมาณได้มาแค่นี้ ไม่ได้หาสตังค์หารายได้เองนะ อย่างนี้ใครเขาอยากเสียภาษีให้ประเทศชาติ บางประเทศ มีรายได้สูงโดนภาษีไปครึ่งนึง เอากลับมาทำโครงสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน จนรถไฟใต้ดินของเรากลายเป็นประวัติศาสตร์ไปแล้ว พวกนักการเมืองหรือผู้บริหารบ้านเมืองของบางประเทศเที่ยวแสวงหาล่าอาณานิคมขนสมบัติประเทศอื่นเอาไปให้ประชาชนของตัวเองกินอยู้สุขสำราญ
จนปัจจุบันก็ใช้วิธีการไม่แตกต่างในด้านความคิดเปลี่ยนวิธีการในการต่อรองด้านเศรษฐกิจให้ประเทศตัวได้ประโยชน์มากๆ
โครงการของพระเจ้าแผ่นดินชี้นำการบริหารจัดการบ้านเมืองมาทุกสมัย อาชีพทำกิน ที่แนะนำภูมิปัญญาให้ประชาชนของพระองค์ แต่ประชาชนก็ยังคงต้องยอมขาดทุนไม่มีการประกันราคางานฝีมืองานช่างการเกษตรที่มีต้นทุนสูงทั้งหลาย เพียง เพราะ ถนนและสาธารณูปโภคที่จะนำคนออกไปและนำคนเข้ามาโดยสะดวกมันไม่มี อยู่ห่างถนนหลวงแค่หนี่งกิโลเมตรก๋ไม่มีโทรศัพท์ใช้ บริการรถรับจ้างราคาถูกก็ไม่มี บางคนซื้อบ้านจัดสรรแพงๆไว้ให้คนแก่อยู่ หาอาหารหาคนรับใช้ไว้ให้เพราะคนแก่ไม่ต้องออกไปไหน หาจานดาวเทียมติดถ้าพอรู้โลกภายนอกบ้าง รายการข่าวดีๆกลายเป็นของแพง ข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลกอาศัยฟรีทีวีไม่ต้องเสียตังค์เคเบิลก็โปรดรอข่าวรอบดึกโน่น อันที่จริง จังหวัดรอบกรุงเทพรวมทั้งเมืองใหญ่ทั้งหลายควรเป็นการปกครองแบบกรุงเทพหรือพัทยาได้แล้ว พอกันทีไร้สาระเหลือเกินกับบ้านจัดสรรที่ขายกันราคาหลังละห้าล้านบาทขึ้นไปและยังอยู่ในพิ้นที่ของการปกครองท้องถิ่นเพียงแค่ระดับออบอตอ
ขับรถแพงหรูวิ่งไปบนถนนที่เป็นหลุมบ่อวินาศสันตะโรสายเคเบิลไม่มีสายโทรศัพท์ไม่มีประปายังขุดจากบาดาลมาใชไฟฟ้าก็
ดับมั่งดีมั่งตามอารมณ์ห่างข้ามเขตกอทอมอไปอีกกิโลนึงมีครบหมดสาธารณูปโภคอะไรแบบนี้ ประหลาดพิศดารแท้ๆ ตอนอยู่ย่่านนิคมอุตสาหกรรมชื่อดังก็งงเป็นไก่ตาแตกมารอบนึงแล้ว ว่าห่างจากริมถนนสายหลักไม่ถึงกิโลยังไม่มีท่อระบายน้ำดีๆใช้ป่าดิบรกมีแต่ยุง ความเจริญตกอยูในมือนายทุนเจ้าของโรงงานเจ้าของบ้านจัดสรรทั้งสิ้น ต้องอยู่ในเขตนิคมนี้หรือบ้านจัดสรรนี้สิเธอถึงจะมีปะปามีน้ำมีไฟใช้ มีกำแพงมียามรักษาความปลอดภัยมีสนามพักผ่อนบึงตกปลาสระว่ายน้ำสปอตคลับ
มีรถรับส่งไปสู่ขนส่งมวลชนของรัฐอะไรแบบนี้ ทั้งที่อยู่ห่างเขตกรุงเทพแค่กิโลเดียวความเจริญมันข้ามเขตมาไม่ได้ บางสถาบันบางส่วนราชการถึงลุกมาต่อต้านเหยงๆบ้างก็ลงทุนก่อสร้างที่ทำงานใหม่เสียใหญ่โตแต
่อยู่เขตบ้านนอกไม่ใช่กรุงเทพมหานคร
ต้องนั่งรถบางประเภทมี่ค่ารับจ้างแสนแพงถึงจะไปทำงานหรือไปเรียนหนังสือได้ทันเวลา
ไม่ย้ายเว้ยขอบอก!!!!!
จะให้ย้ายเหรอต้องให้ฉันฟรีหมดค่ารถค่าบ้านค่ากินค่าอยู่ค่าความปลอดภัยค่าข้อมูลข่าวสารทันใจ
ส่วนพวกสถาบันส่วนราชการที่คุ้นเคยกับคนบ้านนอกคนชนบทอยู่แล้วก็จงย้ายไปอยู่บ้านนอกกันให้หมดเถอะ
ตราบใดไม่เจริญอย่างเขตกรุงเทพเขตปกครองพิเศษไม่ย้ายเด็ดขาด
เวลาเลือกตั้งมันก็มีช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบทอยู่แบบนี้ ยิ่งรากหญ้ามีตั้งเจ็ดสิบเปอร์เซ็นอย่างนี้
หนีไม่พ้นรัฐบาลผสม ภาคเอกชนตั้งเงินเดือนสูงๆมีสงครามแย่งชิงบุคคลากรจะได้ทำกำไรให้นายทุนมากๆ
เวลาภาคราชการเอาเครดิตไปทำสินเชื่อทำหน้าตกใจแทบขาดด้ิ้ิ่นไม่รู้ซะแล้วว่าโบนัสปีนี้ฉันได้ไม่ต่ำกว่าแสนกว่าล้านบาท
พวกราชการได้ขึ้นสองสามห้าเปอร์เซ็น กลายเป็นว่า พวกโพลโกหกทั้งเพ
หาว่าระบบราชการไทยมีแต่โกงกินคอรัปชั่น พูดมาด้าย......ไม่จริงไม่จริง
เนี่ยนะโครงการนี้ห้าแสนล้านสองล้านบาทสิบล้านมีบัญชีให้ดูหามาจนได้หลักฐานประเภทไหนลายเซ็นอะไรขอให้บอก
คนที่เคยรับสตังค์กะฉันมาก็คนนี้ตลอดบริษัทนี้ตลอดประมาณไม่ต่ำกว่าห้าปีสิบปีก็ต้องวิทยากรท่านนี้ตลอด
โครงการนี้ต้องทีมนี้ตลอดไอ้คนอื่นมันทำไม่ด้าย....ห่วยเป็นที่ประจักษ์เห็นไหมเนี่ย เมํดเงินหลุดกระเด็นไปจากเครือข่ายชุดนี้ละก็ขอกลั้นใจตายดีกว่า อุตส่าห์สร้างสมไว้ใจกันมามาห้าปีสิบปียี่สิบปีอะไรแบบนี้ ให้โบนัสกันละกันมาตลอด ยิ่งอยู่ในจุดที่ให้ประโยชน์บริหารจัดการการเงินได้ละก็ขออยู่ไปจนตายไม่เอาหรอกตำแหน่งผู้บริหาร
ไม่ย้ายไม่โตเด็ดขาด!!!!!!!!!!!
จะอยู่ตำแหน่งนี้ฝ่ายนี้อำเภอนี้จังหวัดนี้ไปอีกสักสืบยี่สิบปี
จะขอบริหารโครงการอย่างนี้ไปจนตาย
อยากจะรู้นักว่าถ้าให้บริหารโครงการอย่างเดียวห้ามถือเงินสดเด็ดขาดการสุ่มผู้รับช่วงจัดซื้อจัดจ้างใช้วิธีสุ่มเอา
วิทยากรก็สุ่มคนขับรถก็สุ่มรถรับจ้างก็สุ่มร้านอาหารโรงแรมที่พักตั๋วเครื่องบินรถไฟก็สุ่มหมด
มีศูนย์กลางจัดซื้อจัดจ้างรับเหมาช่วงที่คัดกรองระบบมาตรฐานแบบไม่อาจจะว่าได้ว่าหากมิใช่เครือข่ายที่ผู้บริหารโครงการ
คัดกรองกันมาไม่ได้มาตรฐานของฉันหรอก
กำลังนึกอยู่เหมือนกันว่าหากประชาชนหรือผู้ที่ต้องรับการดูแลภายในโครงการต่างๆ
เลือกสิ่งที่ตัวประสงค์ได้ดั่งใจแล้วได้อย่างใจคงดี
เหมือนเวลาที่ชาวบ้านฝันอยากทำโครงการน้นนี้เขียนใส่แผนชุมชนมาเีพียบ
ปรากฏว่าเวลาผู้บริหารต่างบ้านต่างเมืองเขาถามว่าชาวบ้านได้สิ่งที่ตัวเองฝันเต็มร้อยไหม
ปรากฏว่าเขียนมาสักสิบโครงการได้ทำที่งบต่ำสุดสักอันก็บุญแล้วอะไรอย่างนี้
อยากเกิดมาอยู่นอกเขตปกครองพิเศษทำไมล่ะ หกหมื่นหมู่บ้านทั่วไทยมีทั่งนั้นแหละแผนชุมชน
ภาครัฐภาคเอกชนมีตังค์ให้เพียบ
ให้แบบให้เปล่าไม่มีหรอก
อย่างน้อยชาวบ้านในหมู่นั้นต้องมีรายได้สูงคุณภาพชีวิตดีขึ้น
พึ่งตัวเองได้จริง
ไม่ใช่เงินงบประมาณไปอยู่กับพวกของใครนะ
ขอบอก
อยากได้หลักฐานอะไรบอกมาจัดให้
ตราบใดชาวบ้านไม่มีอำนาจต่อรองในเรืองโครงสร้างพื้นฐานไม่มีถนนไม่มีน้ำไม่มีไฟไม่มีโทรศัพท์ไม่มีทีวีเคเบิลดาวเทียมฟรีทุกหลังคาเรือน
อำนาจในการหาหลักฐานความชอบธรรมของตนเองก็ยังอยู่ในมือ
ของพวกที่ทำงานแบบไม่ใช่เขตปกครองพิเศษ
จงเป็นช่องว่างแบบนี้ต่อไปเถอะ
จนกว่าเขตปกครองพิเศษแบบกรุงเทพมหานครจะมีครบทุกหมู่บ้านในเมืองไทย
หกหมืิ่นกว่าหมู่บ้านก็คงต้องเกิดแล้วตายใหม่ไปอีกหลายรอบ
กว่าบ้านเมืองเราจะมีรถไฟฟ้าใต้ดืนบนดินเป็นของโบราณใน้มืองเชีงใหม่นครราชสีมาอุบลหาดใหญ่ภูเก็ตอยุธยาระยอง
ชลบุรีนครศรีธรรมราชตรังพะเยานครสวรรค์สกลนครอุดรธานีสุโขทัยปทุมธานีนนทบุร
ีนครปฐมกาญจนบุรีราชบุรีสมุทรทั้งหลายร้อยแปดจนครบเจ็ดสิบหกจังหวัด
เมืองชายแดนทั้งหมดด้วยเพราะการมีประชากรเข้าออกเป็นเรื่องสำคัญมาก
เมืองที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคม
เมืองที่มีสนามบิน
นำร่องไปเลยสักร้อยสองร้อยเมือง
เขตปกครองพิเศษที่ว่า
จัดเก็บภาษีบริหารจัดการหมดไม่ง้องบประมาณภาคไหน
เพราะหาได้หมื่นล้านตัดมาเป็นภาษีทำโครงสร้างพื้นฐานสักห้าพันล้านก็อาจจะได้เมืองน้อยน่าอยู่สักเมืองแล้ว
พวกที่มีนิคมอุตสาหกรรมเกษตรกรรมมากๆนั่นเหมือนกัน
เงินภาษีจ่ายตรงเข้าบัญชีส่วนปกครองพิเศษท้องถิ่นไปเลย
ให้ความเจริญอยู่ในพื้นที่
สาธารณูปโภคพื้นพื้นฐานของแท้
จังหวัดนี่คนมาอาศัยทำโรงงานกระจายไปเป็นข้ามจังหวัดก็มีกํให้เก็บภาษีบำรุงตรงนั้นก่อน
พอกันทีการบริหารหรือผู้บริหารสูงสุดจากส่วนกลาง
ให้คนท้องถิ่นเขาดูแลตัวเองได้แล้ว
ผู้บริหารสูงสุดของจังหวัดมาจากการเลือกตั้งได้สักห้าสิบจังหวัดละก็
ญี่ปุ่นจีนเกาหลีอาเชี่ยนต้องชิดซ้ายให้พี่ไทย
ขอบอก!!!!!!!
ส่วนเงินเดือนภาครัฐพอตัดตอนท้องถิ่นไปหมดแล้วก็ขึ้นเงินเดือนไปให้เกินภาคเอกชนไปเลย
เพราะสตังค์เหลือจากภาษีขาใหญ่ในท้องถิ่นมาต้องมีส่วนเข้ามาให้ส่วนกลางมั่ง
ความเจริญจะได้กระจายไปชนบทมากๆ
พวกส่วนกลางที่ไปอยู่ในท้องถิ่นจะได้วางมือให้ท้องถิ่นเขาบริหารจัดการเอง
ไม่ใช่ว่าโดนกล่าวหากันไม่หยุดว่าโคตรโกงคอรัปชั่นถึงอยู่ได้อะไรอย่างนี้
พวกที่ทะเละกันจนลืมไปว่าชีวิตชนบทมันส่งสตังค์เข้าส่วนกลางหมดจะได้เลิกทะเลาะกันเสียท
ทรัพยากรทั่งหลายทั้งคนและทั้งอุตสาหกรรมอยู่นอกเมืองทั้งนั้นจะขนความเจริญความอื่มใว้แต่ในเมืองหรือ
คนชนบทรอบนิคมอุตสาหกรรมรอบหมู่บ้านจัดสรรราคาสูงลิบยังต้องนั่งสองแถวไม่มีรถไฟฟ้าใช้ไม่มีโทรศัพท์ไม่มีอินเตอร์เนทใช้
ราคาที่มันถูกเหมือนคนในเมืองน่ะ
มีมั่งเปล่าชาตินี้????ี
หลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีการจัดสรรเงินรางวัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550

หลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีการจัดสรรเงินรางวัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550

หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้รับทราบ แนวทางการจัดสรรเงินรางวัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 แก่ส่วนราชการ สถาบันอุดมศึกษา และจังหวัด ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ พร้อมทั้งอนุมัติ หลักเกณฑ์และแนวทางการจัดสรรเงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้บริหาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ตามแนวทางที่สำนักงาน ก.พ.ร. แล้ว ในช่วงเดือนเมษายนนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินรางวัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550ให้กับส่วนราชการ สถาบันอุดมศึกษา และจังหวัด เืพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ มีความเข้าใจในหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินรางวัล และสามารถจัดสรรสิ่งจูงใจให้กับข้าราชการและลูกจ้างประจำไ้ด้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม

หลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีการจัดสรรเงินรางวัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 แบ่งออกเป็น 2 หัวข้อหลัก ดังนี้

1. หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินรางวัลของส่วนราชการ สถาบันอุดมศึกษา และจังหวัด ให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำในสังกัด

2. หลักเกณฑ์และวิธีการนำเงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้บริหาร ร้อยละ 50 ของผู้บริหารที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษในแต่ละส่วนราชการหรือสถาบันอุดมศึกษาหรือจังหวัดตามหลักเกณฑ์ เพื่อสมทบจัดสรรเป็นเงินรางวัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 สำหรับผู้ปฏิบัติงานของส่วนราชการ หรือสถาบันอุดมศึกษา หรือจังหวัด

ในวันนี้ OPDC News มีรายละเอียดของ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินรางวัลของส่วนราชการ สถาบันอุดมศึกษา และจังหวัด ให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำในสังกัด มานำเสนอกันค่ะ

โดยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินรางวัลของส่วนราชการ สถาบันอุดมศึกษา และจังหวัด ให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำในสังกัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 มีสาระสำคัญ ดังนี้

1. ส่วนราชการ สถาบันอุดมศึกษา หรือจังหวัด ต้องไม่นำเงินรางวัลทั้งหมดที่ได้รับ ไปจัดสรรโดยวิธีการหารเฉลี่ยให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินรางวัลได้รับเท่ากัน แต่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการจัดสรรเงินรางวัลขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่พิจารณาหลักเกณฑ์ วิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการ และหลักเกณฑ์ วิธีการจัดสรรเงินรางวัลให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำ และจะต้องประกาศหลักเกณฑ์ให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำได้ทราบโดยทั่วกันด้วย

2. เมื่อส่วนราชการ สถาบันอุดมศึกษา และจังหวัดได้รับจัดสรรเงินรางวัลไปแล้ว จะต้องนำไปจัดสรรให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับพิจารณาจัดสรรเงินรางวัลประจำปี ได้แก่ ข้าราชการ และ ลูกจ้างประจำ
2.1 สำหรับสถาบันอุดมศึกษา อาจพิจารณาจัดสรรเงินรางวัลที่ได้รับ ให้แก่พนักงานมหาวิทยาลัยที่มีส่วนร่วมในความสำเร็จของสถาบันการศึกษาด้วยก็ได้
2.2 ผู้บริหารในช่วงที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษ จะไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลนี้

3. ผู้มีสิทธิได้รับการพิจารณาจัดสรรเงินรางวัลต้องได้รับการประเมินผลการปฏิบัติราชการ โดยแบ่งการประเมินเป็น 5 ระดับ เช่นเดียวกันกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ สถาบันอุดมศึกษา และจังหวัด โดยที่
ระดับที่ 5 คือ มีผลการปฏิบัติราชการระดับดีเลิศหรือดีเยี่ยม
ระดับที่ 4 คือ มีผลการปฏิบัติราชการระดับดีมาก
ระดับที่ 3 คือ มีผลการปฏิบัติราชการระดับดี
ระดับที่ 2 คือ มีผลการปฏิบัติราชการระดับพอใช้ และ
ระดับที่ 1 คือ มีผลการปฏิบัติราชการระดับที่ต้องปรับปรุง
ผู้ที่มีคะแนนการประเมินผลการปฏิบัติราชการต่ำกว่า 3 ไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัล

4. จำนวนเงินรางวัลที่ผู้มีสิทธิจะได้รับ ขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมผลักดันให้ผลงานของหน่วยงาน ส่วนราชการ หรือจังหวัด บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ และผลการประเมินการปฏิบัติราชการของผู้มีสิทธินั้น ๆ

5. ให้ส่วนราชการเป็นผู้จัดสรรเงินรางวัลให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำ ที่สังกัดราชการบริหารส่วนกลาง และราชการบริหารส่วนกลางที่ปฏิบัติราชการอยู่ในภูมิภาค และให้จังหวัดเป็นผู้จัดสรรเงินรางวัลให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำที่สังกัดราชการบริหารส่วนภูมิภาค

ทั้งนี้ ข้าราชการและลูกจ้างประจำที่ดำรงตำแหน่งและมีฐานเงินเดือน ณ วันที่ 1 กันยายน 2550 อยู่ ณ ส่วนราชการ สถาบันอุดมศึกษา หรือจังหวัดใด จะมีสิทธิได้รับการพิจารณาจัดสรรเงินรางวัลจากส่วนราชการ สถาบันอุดมศึกษาหรือจังหวัดนั้น สำหรับผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ช่วยราชการในต่างส่วนราชการ สถาบันอุดมศึกษาหรือจังหวัด ให้ได้รับเงินรางวัลจากส่วนราชการสถาบันอุดมศึกษา หรือจังหวัดที่ตนมีการเบิกจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างอยู่ ณ วันที่ 1 กันยายน 2550 และเมื่อส่วนราชการ สถาบันอุดมศึกษา และจังหวัด กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการ และหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินรางวัล ให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำแล้ว ขอให้ส่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวไปยังสำนักงาน ก.พ.ร. โดยเร็วด้วย

6. เงินรางวัลประจำปีส่วนที่ได้รับจัดสรรจากวงเงินรวม 5,550 ล้านบาท ให้ส่วนราชการ สถาบันอุดมศึกษา และจังหวัด จัดสรรตามแนวทางเดิม โดยแบ่งรางวัลเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่หนึ่ง จัดสรรเป็นรางวัลให้ผู้ปฏิบัติที่แสดงถึงความร่วมมือกันในการปฏิบัติงานสร้างผลงานให้กับหน่วยงานร่วมกัน
ส่วนที่สอง เป็นรางวัลสำหรับผู้ปฏิบัติที่มีความรับผิดชอบทุ่มเท และมีผลงานตามแผนปฏิบัติราชการและตามภารกิจหลักขององค์กร และตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี ที่มีผลทำให้หน่วยงานบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดทำข้อเสนอแนะหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินรางวัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ไว้ด้วย โดยแบ่งออกเป็น

1) ข้อเสนอแนะหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินรางวัลให้แก่สำนัก กอง หรือสำนักงาน ของส่วนราชการระดับกรม สถาบันอุดมศึกษาและจังหวัด

2) ข้อเสนอแนะหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินรางวัลระดับบุคคล


1) ข้อเสนอแนะหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินรางวัลให้แก่สำนัก กอง หรือสำนักงาน
ของส่วนราชการระดับกรม สถาบันอุดมศึกษา จังหวัด

วิธีการในการจัดสรรเงินรางวัลให้แก่สำนัก กอง หรือสำนักงาน

1. ให้ส่วนราชการ สถาบันอุดมศึกษา จังหวัด แต่งตั้งคณะกรรมการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีของหน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงาน เพื่อทำหน้าที่พิจารณาหลักเกณฑ์ และวิธีการในการจัดสรรเงินรางวัล และต้องประกาศหลักเกณฑ์ให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำได้ทราบโดยทั่วกัน

2. ให้คณะกรรมการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีของหน่วยงาน จัดสรรเงินรางวัลของหน่วยงาน โดยพิจารณาสัดส่วนเงินรางวัลที่จะแบ่งให้แก่สำนัก กอง หรือสำนักงาน ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง คือ รางวัลสำหรับความร่วมมือกันระหว่างสำนัก กอง หรือสำนักงาน และ ส่วนที่สอง คือ รางวัลสำหรับสำนัก กอง หรือสำนักงาน ที่มีผลงานโดดเด่นในการผลักดันงานของหน่วยงานให้บรรลุเป้าหมาย

3. ในการจัดสรรเงินรางวัล ให้พิจารณาตามผลการประเมินของสำนัก กอง หรือสำนักงาน ซึ่งผลการประเมินนั้น ควรให้สอดคล้องกับวิธีการประเมินระดับกรมและจังหวัด นั่นคือ มีระดับคะแนนจาก 1-5 โดย คะแนน 1 หมายถึง ระดับที่ต้องปรับปรุง และ คะแนน 5 หมายถึง ระดับที่ดีเลิศหรือดีเยี่ยม สำนัก กอง หรือสำนักงาน ที่ได้คะแนนผลการประเมินต่ำกว่า 3 จะไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัล

4. วิธีการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีส่วนที่ได้รับจัดสรรจากวงเงินรวม 5,550 ล้านบาท สำหรับแต่ละสำนัก กอง หรือสำนักงาน ให้ส่วนราชการ สถาบันอุดมศึกษา และจังหวัด จัดสรร โดยแบ่งรางวัลเป็น 2 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 รางวัลสำหรับความร่วมมือในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างสำนัก กอง หรือสำนักงาน

เป็นสัดส่วนเงินรางวัลที่คณะทำงานฯ พิจารณาจัดสรรให้แต่ละสำนัก กอง หรือสำนักงาน ในลักษณะเฉลี่ยให้ตามขนาดของสำนัก กอง หรือสำนักงาน ซึ่งการเฉลี่ยให้สามารถทำได้ใน 2 ลักษณะ คือ

(ก) เฉลี่ยตามขนาดของการสร้างผลงาน (Contribution) ของแต่ละสำนัก กอง หรือสำนักงาน โดยใช้จำนวนเงินเดือนของบุคลากรแต่ละสำนัก กอง เป็นตัวเลขสะท้อนถึงขนาดของการสร้างผลงาน ในกรณีนี้จะเป็นผลดีแก่สำนัก กอง หรือสำนักงาน ที่มีบุคลากรทำงานมานานและมีเงินเดือนสูง ซึ่งตามหลักแล้วควรเป็นสำนัก กอง หรือสำนักงาน ที่สามารถสร้างผลงานได้สูงกว่าหรือมากกว่าสำนัก กองหรือสำนักงาน ที่มีเงินเดือนต่ำกว่า โดยมีสูตรการคำนวณ ดังนี้

เงินรางวัลส่วนที่ 1 = เงินรางวัลรวมสำหรับความร่วมมือ x [ Pi / Σ Pi ]

โดยที่...
เงินรางวัลรวมสำหรับความร่วมมือ = เงินรางวัลรวมที่ส่วนราชการหรือจังหวัดได้รับ x สัดส่วนที่แบ่งให้สำหรับความร่วมมือ (เช่น 40%)
Pi = เงินเดือนรวมของบุคลากรในแต่ละสำนักหรือกอง
Σ Pi = เงินเดือนรวมของบุคลากรในทุกสำนักหรือกอง ของส่วนราชการ จังหวัด

(ข) เฉลี่ยตามจำนวนคนในสำนัก กอง โดยนำเงินรางวัลสำหรับความร่วมมือ มาคูณด้วยสัดส่วนจำนวนคนของสำนัก กอง ต่อจำนวนคนทั้งหมดของหน่วยงาน ในกรณีนี้จะเป็นผลดีแก่สำนัก กอง หรือสำนักงาน ที่มีบุคลากรเงินเดือนต่ำเป็นจำนวนมาก ซึ่งการแบ่งเฉลี่ยแบบนี้น่าจะเหมาะสำหรับหน่วยงานที่มีบุคลากรระดับล่างจำนวนมากที่ขยันขันแข็ง มุ่งมั่นและมีบทบาทสำคัญใน การสร้างผลงานให้กับส่วนราชการ จังหวัด โดยมีสูตรการคำนวณ ดังนี้

เงินรางวัลส่วนที่ 1 = เงินรางวัลรวมสำหรับความร่วมมือ x [ Hi / Σ Hi ]

โดยที่...
เงินรางวัลรวมสำหรับความร่วมมือ = เงินรางวัลรวมที่ส่วนราชการหรือจังหวัดได้รับ x สัดส่วนที่แบ่งให้สำหรับความร่วมมือ (เช่น 40%)
Hi = จำนวนบุคลากรในแต่ละสำนักหรือกอง หรือสำนักงาน
Σ Hi = จำนวนบุคลากรรวมในทุกสำนักหรือกอง หรือสำนักงาน ของส่วนราชการ จังหวัด

ส่วนที่ 2 รางวัลสำหรับความรับผิดชอบทุ่มเทและมีผลงาน ตามแผนปฏิบัติราชการและตามภารกิจหลักของหน่วยงาน และตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีของแต่ละสำนัก หรือกอง หรือสำนักงาน ที่มีผลทำให้หน่วยงานบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

เงินรางวัลส่วนที่ 2 นี้ คณะกรรมการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีของส่วนราชการฯจะพิจารณาจัดสรรให้แต่ละสำนัก กอง หรือสำนักงาน ตามผลงานที่แตกต่างกันของแต่ละสำนัก กอง หรือสำนักงาน ซึ่งเกณฑ์การประเมินการปฏิบัติราชการของสำนัก กอง หรือสำนักงาน ควรให้สอดรับกับเกณฑ์การประเมินระดับกรมและจังหวัด นั่นคือ มีระดับคะแนนจาก 1-5 โดยคะแนน 1 หมายถึง ผลงานระดับที่ต้องปรับปรุง และ คะแนน 5 หมายถึง ผลงานระดับดีเลิศหรือดีเยี่ยม สำนัก กอง หรือสำนักงาน ที่ได้คะแนนผลการประเมินต่ำกว่า 3 จะไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลส่วนที่ 2 นี้

สำหรับวิธีการคำนวณเงินรางวัลให้แก่แต่ละสำนัก กอง หรือสำนักงาน ให้ใช้วิธีการเดียวกับการคำนวณการจัดสรรเงินรางวัลให้แก่ส่วนราชการ สถาบันอุดมศึกษา หรือจังหวัด (ตามผลประเมินสุดท้าย)

สูตรการคำนวณ


เงินรางวัลที่แต่ละสำนัก หรือกอง หรือสำนักงาน ได้รับ
=
เงินรางวัลที่ใช้ในการคำนวณทั้งหมด x อัตราการจ่ายรางวัล







โดย
อัตราการจ่ายรางวัล = B(Ri) x Pi
ΣB(Ri) x Pi
B(Ri) x Pi = ส่วนแบ่ง (Share) ของเงินรางวัลของแต่ละสำนักหรือกอง หรือ สำนักงาน
= น้ำหนักการจ่ายรางวัล x เงินเดือน
ΣB(Ri) x Pi = ผลรวมของส่วนแบ่ง (Share) ทั้งหมด



2) ข้อเสนอแนะหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินรางวัลระดับบุคคล

หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดสรรเงินรางวัลแก่บุคลากร

1. ให้คณะกรรมการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีของหน่วยงาน ทำหน้าที่พิจารณาหลักเกณฑ์ และวิธีการในการจัดสรรเงินรางวัลให้แก่บุคลากรแต่ละคนในสำนัก กอง หรือสำนักงาน ภายใต้สังกัด ซึ่งคณะกรรมการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีของหน่วยงานชุดนี้อาจจะแต่งตั้งคณะทำงานฯ ชุดย่อยระดับสำนัก กอง หรือสำนักงาน ขึ้นมาพิจารณาการจัดสรรเงินรางวัลให้แก่บุคลากรภายในแต่ละสำนัก กอง หรือสำนักงาน ก่อน แล้วจึงส่งให้คณะกรรมการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีของส่หน่วยงานเป็นผู้พิจารณาเห็นชอบในขั้นสุดท้าย และต้องประกาศหลักเกณฑ์ให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำทราบโดยทั่วกันด้วย

[ในการอ้างถึงการพิจารณาของคณะทำงานจัดสรรเงินรางวัลให้แก่บุคลากรต่อไปนี้ หมายถึง การพิจารณาของคณะทำงานฯ ชุดย่อย (หากมี) ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีของหน่วยงานแล้ว หรือเป็นการพิจารณาของ คณะกรรมการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีของหน่วยงานโดยตรง (ในกรณีที่ไม่ได้แต่งตั้งคณะทำงานฯ ชุดย่อย)]

2. ให้คณะกรรมการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีของหน่วยงานพิจารณาสัดส่วนเงินรางวัล ที่แต่ละสำนัก กอง หรือสำนักงาน โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง คือ รางวัลสำหรับความร่วมมือกันระหว่างบุคลากรภายในสำนัก กอง หรือสำนักงาน ส่วนที่สอง คือ รางวัลสำหรับบุคลากรที่มีผลงานโดดเด่นในการผลักดันงานของสำนัก กอง หรือสำนักงาน ให้บรรลุเป้าหมาย

3. ในการจัดสรรเงินรางวัล ให้พิจารณาตามผลการประเมินการปฏิบัติราชการของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ซึ่งผลการประเมินดังกล่าว ควรให้สอดคล้องกับผลการประเมินระดับหน่วยงาน นั่นคือ มีระดับคะแนนจาก 1-5 โดยคะแนน 1 หมายถึง ระดับที่ต้องปรับปรุง และคะแนน 5 หมายถึง ระดับดีเลิศหรือดีเยี่ยม ข้าราชการและลูกจ้างประจำที่ได้คะแนนผลการประเมินต่ำกว่า 3 จะไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัล

4. วิธีการจัดสรรเงินรางวัลสำหรับบุคลากรแต่ละคน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน เช่นเดียวกับ วิธีการจัดสรรเงินรางวัลให้แก่สำนัก กอง หรือสำนักงาน กล่าวคือ

ส่วนที่ 1 รางวัลสำหรับผู้ปฏิบัติที่แสดงถึงความร่วมมือกันในการปฏิบัติงานสร้างผลงานร่วมกันภายในสำนัก กอง หรือสำนักงาน

เป็นสัดส่วนเงินรางวัลที่คณะกรรมการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีของหน่วยงานพิจารณาจัดสรรให้บุคลากรแต่ละคน ที่มีผลการประเมินตั้งแต่ 3 ขึ้นไปภายในสำนัก กอง หรือสำนักงาน ในลักษณะเฉลี่ยให้ ซึ่งการเฉลี่ยให้สามารถทำได้ใน 2 ลักษณะคือ

(ก) เฉลี่ยตามขนาดของการสร้างผลงาน (Contribution) ของแต่ละคน โดยใช้จำนวนเงินเดือนของบุคลากรแต่ละคนเป็นตัวเลขสะท้อนถึงการสร้างผลงาน ในกรณีนี้จะเป็นผลดีแก่ผู้ที่ทำงานมานานและมีเงินเดือนสูง ซึ่งตามหลักแล้วควรเป็นผู้ที่สามารถสร้างผลงานได้สูงกว่าผู้ที่มีเงินเดือนต่ำกว่า โดยมีสูตรการคำนวณ ดังนี้

เงินรางวัลส่วนที่ 1 = เงินรางวัลรวมสำหรับความร่วมมือ x [ Pi / Σ Pi ]

โดยที่...
เงินรางวัลรวมสำหรับความร่วมมือ = เงินรางวัลรวมที่สำนักหรือกองได้รับ x สัดส่วนที่แบ่งให้สำหรับความร่วมมือ (เช่น 40%)
Pi = เงินเดือนของบุคลากรแต่ละคน (ที่มีสิทธิ) ในสำนักหรือกอง หรือสำนักงาน
Σ Pi = เงินเดือนรวมของบุคลากรทุกคน (ที่มีสิทธิ) ในสำนักหรือกอง หรือสำนักงาน

(ข)เฉลี่ยตามจำนวนคนในสำนัก กอง หรือสำนักงาน โดยนำเงินรางวัลสำหรับความร่วมมือ มาหารด้วยจำนวนคนที่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลทั้งหมด (ผู้ที่มีคะแนนผลการประเมินตั้งแต่ 3 ขึ้นไป) ในกรณีนี้จะเป็นผลดีแก่ผู้ที่มีเงินเดือนต่ำ ซึ่งการแบ่งเฉลี่ยแบบนี้น่าจะเหมาะสำหรับหน่วยงานที่มีบุคลากรระดับล่างจำนวนมากที่ขยันขันแข็ง มุ่งมั่น และมีบทบาทสำคัญในการสร้างผลงานให้กับสำนัก กอง หรือสำนักงาน โดยมีสูตรการคำนวณ ดังนี้

เงินรางวัลส่วนที่ 1 = เงินรางวัลรวมสำหรับความร่วมมือ หารด้วย จำนวนบุคลากร

โดยที่...
เงินรางวัลรวมสำหรับความร่วมมือ = เงินรางวัลรวมที่สำนักหรือกองได้รับ x สัดส่วนที่แบ่งให้สำหรับความร่วมมือ (เช่น 40%)
จำนวนบุคลากร = จำนวนบุคลากรของสำนักหรือกอง หรือสำนักงานที่มีผลประเมินตั้งแต่ 3 ขึ้นไป

ส่วนที่ 2 รางวัลสำหรับผู้ปฏิบัติที่มีความรับผิดชอบทุ่มเท และมีผลงานตามแผนปฏิบัติราชการ และตามภารกิจหลักของหน่วยงาน และตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี ที่มีผลทำให้หน่วยงานบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

เป็นสัดส่วนเงินรางวัลที่คณะกรรมการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีของหน่วยงานพิจารณาจัดสรรให้แต่ละคน ตามผลงานที่แตกต่างกัน ซึ่งเกณฑ์การประเมินการปฏิบัติราชการของบุคลากรควรให้สอดรับกับเกณฑ์การประเมินระดับสำนัก กอง หรือสำนักงาน นั่นคือ มีระดับคะแนนจาก 1-5 โดยคะแนน 1 หมายถึง ผลงานระดับต้องปรับปรุง และ คะแนน 5 หมายถึง ผลงานระดับดีเลิศหรือดีเยี่ยม บุคลากรที่ได้คะแนนผลการประเมินต่ำกว่า 3 จะไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัล

สำหรับวิธีการคำนวณเงินรางวัลให้บุคลากรแต่ละคน ให้ใช้วิธีการเดียวกับการคำนวณการจัดสรรเงินรางวัลให้แก่สำนัก กอง หรือสำนักงาน

สูตรการคำนวณ


เงินรางวัลที่บุคลากรแต่ละคนได้รับ
=
เงินรางวัลที่ใช้ในการคำนวณทั้งหมด x อัตราการจ่ายรางวัล

โดย
อัตราการจ่ายรางวัล = B(Ri) x Pi
ΣB(Ri) x Pi
B(Ri) x Pi = ส่วนแบ่ง (Share) ของเงินรางวัลของบุคลากรแต่ละคน
= น้ำหนักการจ่ายรางวัล x เงินเดือน
ΣB(Ri) x Pi = ผลรวมของส่วนแบ่ง (Share) ทั้งหมด


วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน

http://www.opdc.go.th/content.php?menu_id=5&content_id=1028

ก.พ.ร. เดินเครื่องต่อ หนุนส่วนราชการ ปรับระบบการบริหารราชการ ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น

ก.พ.ร. เดินเครื่องต่อ หนุนส่วนราชการ
ปรับระบบการบริหารราชการ
ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น

สำนักงาน ก.พ.ร. ยกจังหวัดปทุมธานี เป็นหน่วยงานนำร่อง โครงการสร้างแนวทางการยกระดับคุณภาพบริการสาธารณะ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนของหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาคและอำเภอ ก่อนขยายผลไปสู่หน่วยงานอื่นๆ

เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2551 สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับจังหวัดปทุมธานี จัดสัมมนา เรื่อง “การสร้างแนวทางการยกระดับคุณภาพบริการสาธารณะโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ของหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาคและอำเภอ” ณ ห้อง จูปิเตอร์ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวชั่น
โดยมี นายเมฆินทร์ เมธาวิกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานเปิดการสัมมนา ซึ่งผู้เข้าร่วมสัมมนา ประกอบด้วยผู้บริหารจากหน่วยงานส่วนภูมิภาค อำเภอ หน่วยงานส่วนกลางในจังหวัดปทุมธานี และผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมกว่า 120 ท่าน

นายเมฆินทร์ เมธาวิกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เปิดเผยว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม โดยบัญญัติไว้ในแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ 10 ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน และส่วนที่ 3 ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 78 (5) ได้บัญญัติให้จัดระบบราชการและงานของรัฐ เพื่อให้การจัดทำและการให้บริการสาธารณะเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน

โดยในส่วนของภาคราชการ การส่งเสริมการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมถือได้ว่าเป็นเงื่อนไข และเป็นกุญแจสำคัญของความสำเร็จ ในการพัฒนาระบบราชการ ให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสาธารณะของภาครัฐ ซึ่งผู้ที่จะตอบว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่เพียงใด ก็คือประชาชนผู้รับบริการ ดังนั้น เพื่อให้บริการดังกล่าวมีคุณภาพตรงตามความต้องการของประชาชน และสามารถแก้ไขข้อบกพร่องได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ ภาคราชการต้องสร้างกระบวนการ ในการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการให้บริการสาธารณะ อย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม

นางสาวเยาวพร ปิยมาพรชัย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาระบบราชการ กลุ่มงานพัฒนาระบบสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. กล่าวเสริมว่า ที่ผ่านมาสำนักงาน ก.พ.ร.ได้ดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมให้เกิดการบริหารราชการระบบเปิด หรือการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ทั้งในระดับกระทรวงและระดับจังหวัด ดังนั้นเพื่อเป็นการขยายแนวคิดการให้บริการสาธารณะ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน (People’s Audit) ไปสู่การปฏิบัติให้ลงไปถึงระดับหน่วยงานในจังหวัด ซึ่งมีภารกิจเฉพาะด้านในการให้บริการสาธารณะกับประชาชนโดยตรง ได้แก่ หน่วยงานที่เป็นหน่วยราชการส่วนภูมิภาคและอำเภอ สามารถปรับปรุงการให้บริการสาธารณะในหน่วยงานของตนให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สำนักงาน ก.พ.ร. จึงได้จัดทำ “โครงการสร้างแนวทางการยกระดับคุณภาพบริการสาธารณะ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนของหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาคและอำเภอ” ขึ้นเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจ และตระหนัก โดยสามารถจัดทำและให้บริการสาธารณะ โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนได้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ซึ่งได้คัดเลือกส่วนราชการในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี 3 หน่วยงานเป็นหน่วยงานนำร่อง ประกอบด้วย สำนักงานประกันสังคมจังหวัดปทุมธานี สำนักงานจัดหางานจังหวัดปทุมธานี และสำนักงานขนส่งจังหวัดปทุมธานี นางสาวเยาวพรกล่าว

สำหรับการจัดสัมมนาเริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.30 น. โดยในภาคเช้าเป็นการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การพัฒนาคุณภาพ การให้บริการสาธารณะ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน (People’s Audit) ซึ่งเป็นการบรรยายพิเศษ โดย นางสาวสุธิดา แสงเพชร ผู้ประสานงานเครือข่ายการพัฒนาและประชาสังคมภาคตะวันตก นางปิ่นทอง ศรจังหวัด รองปลัดเทศบาลเมืองเพชรบุรี และ นายโชคชัย เดชอมรธัญ นายอำเภอเมืองจังหวัดนครปฐม ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวเป็นการนำเสนอแนวคิดในภาพรวมเกี่ยวกับ การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม พร้อมแนวทางและประสบการณ์ในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสาธารณะ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน

และในภาคบ่ายเป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการของ 3 หน่วยงานนำร่องจังหวัดปทุมธานีซึ่งจัดเป็นกิจกรรมการนำเสนอ เทคนิคพื้นฐานของการสร้างการมีส่วนร่วม รวมทั้งฝึกปฏิบัติแก่บุคลากรของหน่วยงานนำร่องทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ เพื่อเสริมสร้างทักษะของบุคลากรในหน่วยงานในการจัดทำ และให้บริการสาธารณะโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. จะสรุปผลที่ได้ พร้อมจัดทำแนวทางการพัฒนาและขยายผลสู่หน่วยงานราชการส่วนภูมิภาค/อำเภอ ตลอดรวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ต่อไป

สำนักงาน ก.พ.ร. คาดหวังว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ จะสามารถสร้างแนวทางการยกระดับคุณภาพการบริการสาธารณะ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้กับหน่วยงานนำร่องทั้ง 3 หน่วยงาน ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้การให้บริการในหน่วยงานของตน ได้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

วสุนธรา & ภัทรพร ข.(สลธ.) / จัดทำ
อักสรณ์ (สลธ.) / ภาพ & ข่าว

http://www.opdc.go.th/content.php?menu_id=5&content_id=1030
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
59 ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพ 10300 โทร 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7995 e-mail: administrator@opdc.go.th
ActualAnalyzer





สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
59 ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพ 10300 โทร 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7995 e-mail: ahttp://www.opdc.go.th/content.php?menu_id=5&content_id=1028dministrator@opdc.go.th

ActualAnalyzer

No comments:

Contributors

Powered By Blogger