Investor..I need you...

บ้านเดี่ยว ถนนเลียบคลองเสาธงหิน กม ที่สอง นนทบุรี บางใหญ่ ข้างรถไฟฟ้า

อสังหาริมทรัพย์, แลกเปลี่ยนที่อยู่อาศัย ใน ไทย, กรุงเทพและปริมณทล, กรุงเทพ. วันที่ ก.ย. 14

แลกเปลี่ยนที่อยู่อาศัย

GALLERY

Summer hot..hot in UK now..

16/09/2008

3rd ACMECS Summit ,Hanoi ..this november 2008



http://www.acmecs.org/

http://www.acmecs.org/index.php?id=125



which issues or suggestion our CDD vision or plan to consult or exchange in this next summit in Hanoi?
5 nations try to fight together for next boom of fund ,trade and tourism idea and many progress project in cooperations now..how we fulfil all theses hope?
our CDD job can affiliate all theses points if we have nice relation together,,,help together for people by these 3 rivers like same instinct in whole blood ...we can success together?
everybody or nations need benefits together for next development best commune of south east ASIA...we need strong goverment to help people...donot leave people for time of vaccuum...try to help all mobilize in economic success...wheel of life must go on...do not stop all progress of public benefit for only personal benefit...stand by and equal with your people...people need sustain nice goverment for next close cooperate between nations...start at ACMECS...and run to commune of this world...tight in hand by hand together for good ...up to better chance...may i ask too much ...again???

sugarcane in empthy day again..


About ACMECS

At the special ASEAN Summit on SARS, held in Bangkok on 29 April 2003, Prime Minister Thaksin Shinawatra raised the idea of establishing what was then called the “Economic Cooperation Strategy, with leaders of Cambodia, Lao PDR and Myanmar.

The objectives of this new initiative are to bridge the economic gap among the four countries, and to promote prosperity in the sub-region in a sustainable manner. Such prosperity will not only benefit the four countries, but also add value to ASEAN and its solidarity. Stronger Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand will also mean stronger ASEAN. It is in this way that the new cooperation framework will act as a building block and move ASEAN forward at a more even pace, on the basis of self-reliance and shared prosperity.

Leaders of Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand met for the first time on 12 November 2003 in Bagan, the Union of Myanmar. At the Summit, the four Leaders adopted the Bagan Declaration, affirming their commitment to cooperate in five priority areas of cooperation, and endorsed the Economic Cooperation Strategy Plan of Action, under which 46 common projects and 224 bilateral projects were listed for implementation over the next ten years. The Leaders agreed to call this newly created economic cooperation framework the “Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy or ACMECS”.

The joining of Vietnam to the group on 10 May 2004 has made ACMECS with 5 member countries. The emphasis of ACMECS is on using self-help and partnership to achieve sustainable development, including poverty reduction, in line with the UN Millennium Development Goals

ACMECS will act as a catalyst to build upon existing regional cooperation programs and complement bilateral frameworks with a view to transform the border areas of the five countries into zones of economic growth, social progress and prosperity, and to blend local, national and regional interests for common benefits, shared prosperity, enhanced solidarity, peace, stability and good neighborliness.

ACMECS activities shall be: complementary to and enhancing the existing bilateral and regional economic cooperation; deliverable with tangible results, utilizing comparative advantages of each country; feasible and acceptable to the countries concerned; and, undertaken on the basis of voluntarism, consensus, and equitable sharing of benefits.

ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง

ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง ระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม
(ACMECS: Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy หรือ ECS:Economic Cooperation Strategy) เป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับอนุภูมิภาคที่จัดตั้งขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์จากความแข็งแกร่งและความหลากหลายของทั้งห้าประเทศสมาชิกเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างสมดุล

แนวคิดพื้นฐานมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า หากรวม GDP ของไทย กัมพูชา ลาว และพม่าเข้าด้วยกัน สัดส่วนของไทยจะเป็นร้อยละ 91 ส่วนอีกสามประเทศรวมกันเป็นร้อยละ 9 เท่านั้น (ข้อมูลปี 2546) ในอนาคต หากไทยยังคงการเติบโตเช่นในปัจจุบันต่อไปอีก 5 ปี สัดส่วน GDP ของไทยอาจเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 95 และปัญหาสืบเนื่องจากความแตกต่างทางเศรษฐกิจจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ไทยเห็นความสำคัญของความร่วมมือและการ
ลงทุนเพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ในประเทศเพื่อนบ้านทั้งสาม เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน จึงได้ริเริ่มแนวคิดการดำเนินงานพัฒนาความร่วมมือเพื่อยกระดับเจริญทางเศรษฐกิจร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน ให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านเจริญเติบโตมากขึ้น ไม่มีความแตกต่างกับไทยและประเทศสมาชิก ASEAN อื่นๆ มากนัก
พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกแนวคิดนี้ขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า เมื่อ 29 เมษายน 2546 ในนาม ECS จากนั้น กรอบความร่วมมือนี้ก็ได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จนมีการประชุมในระดับผู้นำ (Summit) เป็นครั้งแรกเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า และที่ประชุมผู้นำ (จากกัมพูชา ลาว พม่า และไทย) ได้ตกลงให้ปรับเปลี่ยนชื่อ ECS เป็น ACMECS
ต่อมา เวียดนามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547

ยุทธศาสตร์ ACMECS มีเป้าประสงค์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน ก่อให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากขึ้นตามแนวชายแดน ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายภาคอุตสาหกรรม การเกษตรและการผลิตไปยังบริเวณที่มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (comparative advantage) สร้างโอกาสในการจ้างงานลดความแตกต่างของรายได้ ส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่งคั่งร่วมกันอย่างยั่งยืน

เกี่ยวกับ ACMECS

ภูมิหลัง ACMECS
ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี เจ้าพระยา แม่โขง (ACMECS : Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy) ระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า ไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among
Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้รับการสนับสนุนในหลักการจากผู้นำประเทศเพื่อนบ้านทั้งสามดังกล่าว และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 ซึ่งผู้นำทั้ง 5 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม
(Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่
1. การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน
2. ความร่วมมือด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
3. การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม
4. การท่องเที่ยว และ
5. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน การสร้างงาน โดยมีกิจกรรมที่เห็นผลเร็ว มุ่งผลประโยชน์ร่วมกัน และเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมความเจริญทางเศรษฐกิจและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งส่งเสริมให้นานาประเทศนอก ACMECS และองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาในโครงการต่างๆ ของACMECS ด้วย
ต่อมา เวียดนามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 เพื่อเพิ่มพูนความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างความมั่นคงและสันติสุขในอนุภูมิภาคให้เป็นไปอย่างสอดคล้องและเสริมประโยชน์กันมากยิ่งขึ้น

เป้าประสงค์หลักของ ACMECS คือ
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันและก่อให้เกิดความเจริญเติบโตมากขึ้นตามแนวชายแดน
เพื่ออำนวยความสะดวกให้มีการเคลื่อนย้ายอุตสาหกรรมเกษตรและการผลิตไปยังบริเวณที่มีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ
เพื่อสร้างโอกาสการจ้างงานและลดความแตกต่างของรายได้ในหมู่ประเทศทั้งสี่
เพื่อส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่งคั่งร่วมกันสำหรับทุกฝ่ายในลักษณะที่ยั่งยืน

กิจกรรมภายใต้ ACMECS มีลักษณะ ดังนี้
สอดคล้องและส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับทวิภาคีและภูมิภาคที่มีอยู่แล้ว
ปฏิบัติได้โดยมีผลที่เป็นรูปธรรม โดยใช้ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของแต่ละประเทศ
ทำได้จริงและเป็นที่ยอมรับได้โดยประเทศที่เกี่ยวข้อง
ยึดหลักการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างสมัครใจและทัดเทียมกัน
ยึดหลักฉันทามติระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

ACMECS มีโครงการร่วม (common projects ดำเนินงานร่วมกัน 3 ประเทศขึ้นไป โดยประเทศสมาชิกที่เหลือ
ไม่ขัดข้อง) จำนวน 46 โครงการ และโครงการทวิภาคี (bilateral projects ดำเนินงานร่วมกัน 2 ประเทศ)
จำนวน 224 โครงการ ภายใต้ความร่วมมือ 5 สาขา
ได้แก่
1. การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Facilitation)
2. ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม (Agricultural and Industrial Cooperation)
3. การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม (Transport Linkages)
4. การท่องเที่ยว (Tourism Cooperation)
5. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development)

กลไกการทำงานของ ACMECS
ที่ประชุมผู้นำ ACMECS เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 มีมติให้จัดการประชุมระดับผู้นำกันทุก 2 ปี และให้รัฐมนตรี
ต่างประเทศประชุมกันทุกปี เพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการตาม Plan of Action ที่ได้ตกลงร่วมกัน
ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2546 มีการประชุมระหว่างประเทศสมาชิกแล้ว ดังนี้

15 กรกฎาคม 2546 การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM) ที่เวียงจันทน์ ลาว

31 กรกฎาคม 2546 การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสอย่างไม่เป็นทางการ (informal SOM) ที่กรุงเทพฯ

1 สิงหาคม 2546 การประชุมระดับรัฐมนตรี (รัฐมนตรีต่างประเทศ) (MM) ที่กรุงเทพฯ

27 สิงหาคม 2546 การประชุมคณะทำงานยกร่าง Plan of Action และโครงการ ที่เมืองเสียมราฐ กัมพูชา

30 กันยายน – 1 ตุลาคม 2546 การประชุมคณะทำงานยกร่างโครงการร่วมและโครงการทวิภาคีใน Plan of Action ที่กรุงเทพฯ

27 ตุลาคม 2546 การประชุมระดับรัฐมนตรี (รัฐมนตรีเศรษฐกิจการค้า) ที่กรุงเทพฯ

10 พฤศจิกายน 2546 การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM) ที่กรุงย่างกุ้ง พม่า

10 พฤศจิกายน 2546 การประชุมระดับรัฐมนตรี (รัฐมนตรีต่างประเทศ) (MM) ที่กรุงย่างกุ้ง พม่า

12 พฤศจิกายน 2546 การประชุมผู้นำ ACMECS ที่เมืองพุกาม พม่า

- - - - - (10 พฤษภาคม 2547 เวียดนามเข้าเป็นสมาชิก ACMECS) - - - - -

3 – 4 มิถุนายน 2547 การประชุมเชิงปฏิบัติการ ACMECS Workshop on Enhancing the Competitiveness of
the Planning Agencies in Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand โดยมีเจ้าหน้าที่

ระดับปฏิบัติ / วางแผนเข้าร่วมจากกัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และไทย ที่เมืองพัทยา จ.ชลบุรี

18-19 สิงหาคม 2547 การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสที่กรุงย่างกุ้ง พม่า

1-2 พฤศจิกายน 2547 ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการจัดประชุมรัฐมนตรี
ต่างประเทศอย่างไม่เป็นทางการ (ACMECS Special SOM and Ministerial Retreat) ที่
จ.กระบี่ โดยมีผู้แทนจากประเทศหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (development partners) จาก
ฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น และธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB: Asian
Development Bank) เข้าร่วมการประชุมทั้งสองวาระดังกล่าวด้วย

ในปี 2548 กัมพูชาเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีในวันที่ 4-5 ส.ค. โดยไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำครั้งที่ 2 (The 2nd ACMECS Summit) ในวันที่ 1-3 พ.ย.

กลไกของฝ่ายไทย
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2546 ให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศ
เพื่อนบ้าน
(อพบ.) ซึ่งคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้มีคำสั่งที่ 4 / 2547 เมื่อ 6 พฤษภาคม 2547 จัดตั้ง อพบ. แล้ว โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐและ

เอกชนเป็นอนุกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กับกระทรวงการต่างประเทศ เป็นอนุกรรมการและฝ่ายเลขานุการ

อพบ. มีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเสนอแนะนโยบาย แผนงานและโครงการตามแผนงานการจัดระบบเศรษฐกิจตามแนวชายแดนและการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงาน ACMECS ด้วย

ทั้งนี้ ในส่วนของ ACMECS มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สำนักวางแผนเศรษฐกิจมหภาค) เป็นหน่วยงานหลักในการประสานกับหน่วยงานภายในของไทยให้ดำเนินงานเป็นไปตามแผนปฏิบัติการ และ
กระทรวงการต่างประเทศ (กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ) เป็นหน่วยงานหลักในการประสานกับประเทศสมาชิก ACMECS
และ Development Partners ต่างๆ

ตัวอย่างโครงการร่วมของ ACMECS ที่มีการดำเนินงานคืบหน้านับตั้งแต่การประชุมระดับผู้นำ ACMECS
I. Trade and Investment Facilitation
- Expansion of the coverage of AISP offered by Thailand ยกเว้นการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเกษตร
8 รายการจากกัมพูชา ลาว และพม่า ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2547 ประกอบด้วย มันฝรั่ง (potato),
ถั่วลิสง (peanut), ถั่วเหลือง (soybean), ข้าวโพดหวาน (sweet corn), ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (maize), เมล็ดละหุ่ง
(castor bean, castor oil seed), ไม้ยูคาลิปตัส (eucalyptus), เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ (cashew nut) และเพิ่มพิเศษ
ให้ลาว อีก 1 รายการ คือ ลูกเดือย (pearl barley)
- Conduct a feasibility study on the establishment of wholesale and export markets at the border areas.
อยู่ระหว่างดำเนินการโดยกระทรวงพาณิชย์ (ในปี 2547 เป็นการทำ FS ในกัมพูชา คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในต้นปี 2548 และจะดำเนินงานทำ FS ในลาวและพม่าในปี 2548)
- Promotion of export oriented investment opportunities to enhance investment. อยู่ระหว่างดำเนินการโดย กนอ. และ BOI

II. Agricultural and Industrial Cooperation
- Conduct a feasibility study on cooperation in agriculture, particularly cash crops such as soybean,
maize, coffee, beans, and livestock.
อยู่ระหว่างดำเนินการโดย กษ.
- Contract farming in Agricultural Products.
อยู่ระหว่างดำเนินการโดย กษ. และ กต.

III. Transport Linkages
- Construction projects of roads and bridges connecting ACMECS countries.
อยู่ระหว่างดำเนินการโดย ทล. สศค. และ กต.
- Feasibility study of additional routes and corridors that will encourage economic activities
among CLMTV countries and nearby economies such as China and India.
อยู่ระหว่างดำเนินการโดย ทล. และ กต.

IV. Tourism Cooperation
- Arrangement of cross-border overland tours, caravan tours, cross country tours and bicycle tours.
ดำเนินการแล้วโดย กกท. และ กต.
- Facilitation of travel, such as visa on arrival, entry permit at the border entry points, and the
arrangement to establish ACMECS joint visa.
อยู่ระหว่างดำเนินการโดย กต. มท. และหน่วยงานด้านความมั่นคง
- Opening of potential border entries.
อยู่ระหว่างดำเนินการโดย กต. มท. และหน่วยงานด้านความมั่นคง

V. Cooperation on Human Resource Development
- Training courses in Thailand on topics related to five strategic areas of ACMECS cooperation
for CLMTV countries in order to enhance capacity building skill of ACMECS member countries.
ดำเนินการแล้วโดย กต. และ ทล.
- Provision of 100 scholarships for general education in schools and universities in Thailand.
ดำเนินการแล้วโดย กต.

โครงการทวิภาคีของ ACMECS

เน้นการดำเนินงานผ่านการสถาปนาเมืองคู่แฝด (sister cities) ระหว่างประเทศสมาชิก โดยให้หน่วยงานท้องถิ่นของเมืองคู่แฝดได้มีการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน

สรุปแนวทางพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ (ไทย กัมพูชา) จากแผนปฏิบัติการ ACMECS

เป้าหมายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
1. เขตประกอบการอุตสาหกรรม เขตการผลิตร่วม เน้นใช้ GSP วัตถุดิบ และแรงงาน
2. Logistics Industry
3. เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว
4. ตลาดกลางสินค้าเกษตรร่วม
5. เชื่อมโยงธุรกิจบริการ
6. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน

รายชื่อ Sister Cities
1. ตราด เกาะกง
2. อรัญประเทศ ปอยเปต
3. บ้านผักกาด ไพลิน
4. ช่องจอม ภูมิสำโรง
5. ช่องสะงำ อันลองเวง

สรุปแนวทางพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ (ไทย ลาว) จากแผนปฏิบัติการ ACMECS

เป้าหมายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
1. เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว
2. เขตประกอบการอุตสาหกรรม เขตการผลิตร่วม
เน้นใช้ GSP วัตถุดิบ และแรงงาน
3. Logistics Industry
4. เชื่อมโยงธุรกิจบริการ
5. ตลาดกลางสินค้าเกษตรร่วม
6. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน

รายชื่อ Sister Cities
1. เชียงแสน บ้านต้นผึ้ง
2. มุกดาหาร สะหวันนะเขต
3. เชียงของ บ้านห้วยทราย
4. นครพนม ท่าแขก
5. ช่องเม็ก ปากเซ
6. ห้วยโก๋น เมืองเงิน
7. หนองคาย ท่านาแล้ง

สรุปแนวทางพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ (ไทย พม่า) จากแผนปฏิบัติการ ACMECS

เป้าหมายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
1. เชื่อมโยงธุรกิจบริการ การค้า ธุรกรรมเงินตรา
Account Trade
2. Logistics Industry : ขนส่ง
3. ตลาดกลางสินค้าเกษตรร่วม
4. เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว
5. เขตประกอบการอุตสาหกรรม เขตการผลิตร่วมเน้นอุตสาหกรรมใช้แรงงาน
6. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน

รายชื่อ Sister Cities
1. แม่สาย ท่าขี้เหล็ก
2. แม่สอด เมียวดี
3. ระนอง เกาะสอง
4. เจดีย์สามองค์ พญาตองซู
5. กาญจนบุรีทวาย
6. บางสะพาน บ๊กเปี้ยน

ยุทธศาสตร์ของไทยต่อ ACMECS
เพิ่มขีดความสามารถและสร้างฐานการผลิตตามแนวชายแดนและพื้นที่เชื่อมโยงในลักษณะเกื้อกูลซึ่งกันและกัน (complementary) ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งด้านเกษตร อุตสาหกรรมและบริการ โดยดำเนินการร่วม
ในระดับรัฐ รัฐ / เอกชน เอกชน / รัฐ เอกชน / ประชาชน - ประชาชน
ย้ายฐานการผลิตจากไทยสู่ประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมาก / อุตสาหกรรมที่ใช้
วัตถุดิบของประเทศเพื่อนบ้าน / ธุรกิจการเกษตรเพื่อผลิตวัตถุดิบส่งมายังอุตสาหกรรมแปรรูปในไทย
สร้างงาน สร้างรายได้ให้ประชาชนไทยและประเทศเพื่อนบ้านอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะพื้นที่ตลอดแนวชายแดน
และเมืองหลักของเพื่อนบ้าน
เสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยใช้ความร่วมมือและความสำเร็จทางเศรษฐกิจ
เป็นปัจจัยเชื่อมโยงกับการสนับสนุนการเจรจาหารือเพื่อขจัดอุปสรรคของความร่วมมือด้านการเมือง ความมั่นคง สังคม และอื่นๆ
เป็นยุทธศาสตร์เชื่อมโยง GMS และ BIMST-EC รวมทั้งเป็นช่องทางเพิ่มพูนความร่วมมือกับนานาประเทศและ
องค์การระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาคให้ดีขึ้น


สาขาความร่วมมือ

ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ให้ความสำคัญกับกิจกรรมใน 5 สาขาความร่วมมือหลัก ได้แก่

* การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน
- เพื่อใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของประเทศที่เกี่ยวข้อง
- เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการไหลเวียนของสินค้าและการลงทุนเพื่อให้เกิดการจ้างงาน
- เพื่อสร้างรายได้และลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสังคม

* ความร่วมมือด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม
- เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมความร่วมมือด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมโดยสร้างและพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน จัดสรรการผลิต การตลาด และการจัดซื้อร่วมกัน การวิจัยและพัฒนา และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน

* การเชื่อมโยงการขนส่ง
- พัฒนาและใช้ประโยชน์จากการเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
- อำนวยความสะดวกสำหรับการค้า การลงทุน เกษตรกรรม การผลิตทางอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว

* ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว
- ส่งเสริมยุทธศาสตร์ร่วมสำหรับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
- อำนวยความสะดวกการท่องเที่ยวในหมู่ทั้งสี่ประเทศและจากภูมิภาคอื่นๆ

* การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
- ส่งเสริมการเสริมสร้างขีดความสามารถของคนและสถาบัน
- ริเริ่มมาตรการเพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับภูมิภาค

2nd ACMECS Summit 1-3 November 2005, Bangkok, Thailand



from สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ



No comments:

Contributors

Powered By Blogger