Investor..I need you...

บ้านเดี่ยว ถนนเลียบคลองเสาธงหิน กม ที่สอง นนทบุรี บางใหญ่ ข้างรถไฟฟ้า

อสังหาริมทรัพย์, แลกเปลี่ยนที่อยู่อาศัย ใน ไทย, กรุงเทพและปริมณทล, กรุงเทพ. วันที่ ก.ย. 14

แลกเปลี่ยนที่อยู่อาศัย

GALLERY

Summer hot..hot in UK now..

24/04/2008

CDD strategic draft




(ร่าง)

แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ.2551-2554)

กรมการพัฒนาชุมชน

คำนำ

แผนปฏิบัติราชการ ปี 2551-254 กรมการพัฒนาชุมชน ฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยเจตนารมณ์ ก่อเกิดบนพื้นฐานของความคิด ความต้องการของประชาชน องค์กรและหน่วยงานภาคี เป็นความมุ่งหมายที่จะวางแนวทางสำหรับการบริหารงานพัฒนาชุมชนอย่างเป็นระบบ ให้ดำเนินไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน อันเป็นเจตนารมณ์ที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.2550) และเป็นเจตนารมณ์ที่ตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาล และความต้องการของประชาชนซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุด

โดยสาระสำคัญของแผนฯ เป็นการกำหนดกรอบยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชนอย่างเป็นระบบเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการสร้างชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน ประชาชนพึ่งตนเองได้ และครอบครัวมีคุณภาพชีวิตดี มีความสุข พร้อมทั้งระบุพันธกิจ เป้าหมาย และกลยุทธ์ สำหรับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้การแปลงไปสู่การปฏิบัติของหน่วยปฏิบัติการสามารถทำได้สะดวกขึ้น กระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ปี 2551-2554 กรมการพัฒนาชุมชน ฉบับนี้ สามารถดำเนินการจนบรรลุจุดมุ่งหมายสมดังเจตนารมณ์ได้โดยพลังความร่วมมือร่วมใจจากหลายภาคส่วนทั้งภาคประชาชน ภาคราชการ และสถาบันการศึกษา โดยได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์ฉัตรมงคล แน่นหนา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ปรึกษามาโดยตลอด จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า แผนปฏิบัติราชการ กรมการพัฒนาชุมชน ฉบับนี้ จะเป็นแผนที่มีพลังในการสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความเข้มแข็ง มั่นคง และยั่งยืน

กรมการพัฒนาชุมชน

มีนาคม 2551

สารบัญ

หน้า

คำนำ 2

สารบัญ 3

บทนำ ข้อมูลเกี่ยวกับกรมการพัฒนาชุมชน 4

ความเป็นมาของกรมการพัฒนาชุมชน 4

โครงสร้างการบริหารงาน 4

อัตรากำลัง 5

อำนาจหน้าที่ 6

ส่วนที่ 1 สาระสำคัญแผนปฏิบัติราชการ ปี 2551-2554 กรมการพัฒนาชุมชน 7

วิสัยทัศน์ 7

พันธกิจ 7

เป้าหมาย 7

ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์และกลยุทธ์หลัก 8

ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย 9

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนาทุนชุมชน 9

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้เข้มแข็ง 10

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาขีดความสามารถของผู้นำชุมชน 11

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การขับเคลื่อนแผนชุมชน 12

ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ส่งเสริมการจัดการความรู้ของชุมชน 13

ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การเสริมสร้างขีดสมรรถนะองค์กร 14

ส่วนที่ 2 แผนปฏิบัติราชการ พ.ศ.2551-2554 กรมการพัฒนาชุมชน 17

บทนำ

ข้อมูลเกี่ยวกับกรมการพัฒนาชุมชน

ความเป็นมาของกรมการพัฒนาชุมชน

กรมการพัฒนาชุมชน จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ฉบับที่ 10 (ฉบับพิเศษ) เล่มที่ 79 ตอนที่ 89 พ.ศ.2505 โดยแยกจากส่วนพัฒนาการท้องถิ่น กรมมหาดไทย นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2505

กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชนบทมาอย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลา 46 ปี ด้วยวิธีการส่งเสริม สนับสนุนและสร้างโอกาสให้ประชาชน มีส่วนร่วมและเรียนรู้ร่วมกันในการจัดการการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น มีทัศนคติที่ดี ในการร่วมมือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน รู้จักสิทธิ หน้าที่ และปกครองตนเองได้ตามวิถีทางในระบอบประชาธิปไตย ช่วงเวลาที่ผ่านมา กรมการพัฒนาชุมชนได้ทุ่มเทกำลังเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ทั้งในด้านการบริหารจัดการชุมชน เศรษฐกิจชุมชน และสารสนเทศชุมชน เพื่อให้เป็นฐานรากที่เข้มแข็ง มีความพร้อมในการพัฒนาสังคม และประเทศ มีพัฒนากร เป็นข้าราชการหลัก ทำงานร่วมกับประชาชนในหมู่บ้าน ตำบล เพื่อสร้างพลังชุมชน และใช้พลังชุมชน ในการพัฒนาชุมชน เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

โครงสร้างการบริหารงาน

การปฏิรูประบบราชการสู่การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ มุ่งเน้นการบริหารงานที่ยึดผลลัพธ์เป็นหลักในการทำงาน มีการวัดผลงานอย่างเป็นรูปธรรม ตามหลักความโปร่งใส หลักผลงานและหลักคุณธรรม โดยให้ส่วนราชการปรับระบบและวิธีการทำงานที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน ได้รวดเร็ว คล่องตัว กรมการพัฒนาชุมชน จึงปรับโครงสร้างการบริหารงานให้สอดรับกับการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ โดยแบ่งการบริหารงานเป็นราชการส่วนกลาง และราชการส่วนภูมิภาค มีหน่วยงานในสังกัด ดังนี้

1. ราชการส่วนกลาง แบ่งออกเป็น

· สำนักงานเลขานุการกรม

· กองคลัง

· กองการเจ้าหน้าที่

· กองฝึกอบรม

· กองวิชาการและแผนงาน

· สำนักส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน

· สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน

· ศูนย์สารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน

· หน่วยตรวจสอบภายใน

· กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร

· กองประชาสัมพันธ์ Œ

· ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขต 1 -9 และ 10– 12Œ

2. ราชการส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น

· สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด 75 จังหวัด

· สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ 877 อำเภอ

อัตรากำลัง

กรมการพัฒนาชุมชนมีอัตรากำลัง ณ เดือนมีนาคม 2551 รวมทั้งสิ้น 7,305 อัตรา จำแนกเป็นอัตรากำลังส่วนกลางทั้งหมด 771 อัตรา ส่วนภูมิภาค 6,534 อัตรา รายละเอียดปรากฏตามตาราง ดังนี้

ตำแหน่ง

ส่วนกลาง

(อัตรา)

ส่วนภูมิภาค (อัตรา)

รวม

(อัตรา)

อธิบดี

1

-

1

รองอธิบดี

3

-

3

ผู้อำนวยการสำนัก

2

-

2

ผู้อำนวยการศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขต

9

-

9

ผู้เชี่ยวชาญ

3

-

3

ผู้อำนวยการกอง/ศูนย์/เลขานุการกรม หัวหน้าส่วนตรวจสอบ และหัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบบริหาร

9

-

9

พัฒนาการจังหวัด

-

75

75

พัฒนาการอำเภอ/กิ่งอำเภอ

-

877

877

นักวิชาการ/เจ้าหน้าที่

744

967

1,714

พัฒนากร

-

4,615

4,615

รวม

771

6,534

7,305

อำนาจหน้าที่

กฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย พ.. 2545 มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2545 กำหนดให้กรมการพัฒนาชุมชน มีภารกิจสำคัญเกี่ยวกับการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมของประชาชน และส่งเสริมงานวิสาหกิจชุมชนตามอำนาจหน้าที่ ดังนี้

1. กำหนดนโยบาย แนวทาง แผน และมาตรการในการพัฒนาชุมชนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ และ

ความเข้มแข็งของชุมชน

2. ส่งเสริมศักยภาพของประชาชน ผู้นำชุมชน องค์กรชุมชน และเครือข่ายองค์กรชุมชนเพื่อให้มีส่วนร่วมและเกิดการรวมกลุ่มให้สามารถพึ่งตนเองได้

3. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของประชาชน ผู้นำชุมชน องค์กร ชุมชน และเครือข่ายองค์กรชุมชน เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชน

4. ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชน

5. พัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการวางแผนและการบริหารการพัฒนา

6. วิจัยและพัฒนารูปแบบ และวิธีการพัฒนาชุมชน ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและสภาพพื้นที่

7. ฝึกอบรมและพัฒนาผู้นำชุมชน องค์กรชุมชน และเครือข่ายองค์กรชุมชน รวมทั้งให้ความร่วมมือในการฝึกอบรมด้าน การพัฒนาชุมชนแก่หน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ

8. ปฏิบัติราชการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรี

ส่วนที่ 1

สาระสำคัญแผนปฏิบัติราชการ ปี 2551-2554

กรมการพัฒนาชุมชน

สาระสำคัญของแผนปฏิบัติราชการ ปี 2551-2554 กรมการพัฒนาชุมชน เป็นการกำหนดกรอบยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชนอย่างเป็นระบบเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายสำคัญในการสร้างชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน ประชาชนพึ่งตนองได้ และครอบครัวมีคุณภาพชีวิตดี มีความสุข พร้อมทั้งระบุพันธกิจ เป้าหมาย และกลยุทธ์ สำหรับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้การแปลงไปสู่การปฏิบัติมีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น ดังนี้

แผนผังลําดับงาน: กระบวนการสำรอง: 2.1 วิสัยทัศน์


กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน

แผนผังลําดับงาน: กระบวนการสำรอง: 2.2 พันธกิจ


1) สร้างพลังชุมชน

2) สร้างระบบจัดการความรู้

3) สร้างระบบการบริหารจัดการชุมชน

แผนผังลําดับงาน: กระบวนการสำรอง: 2.3 เป้าหมาย


1) ชุมชนเข้มแข็ง

2) ประชาชนพึ่งตนเองได้

3) ครอบครัวมีคุณภาพชีวิตดี มีความสุข

แผนผังลําดับงาน: กระบวนการสำรอง: 2.4 ประเด็นยุทธศาสตร์  เป้าประสงค์และกลยุทธ์


ประเด็นยุทธศาสตร์

เป้าประสงค์

กลยุทธ์

1) การพัฒนาทุนชุมชน

ชุมชนมีการบริหารจัดการทุนชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ

1. พัฒนากลุ่มออมทรัพย์ที่เข้มแข็งให้เป็นสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

2) การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้เข้มแข็ง

ประชาชนมีอาชีพมั่นคงและมีรายได้เพิ่มขึ้น

2. บูรณาการการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนแบบครบวงจร

3) เพิ่มขีดความสามารถผู้นำชุมชน

ผู้นำชุมชนมีความรู้ คู่คุณธรรมสามารถบริหารจัดการชุมชนให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้

3. สร้างผู้นำมืออาชีพ

4) การขับเคลื่อนแผนชุมชน

แผนชุมชนมีคุณภาพและนำไปสู่การปฏิบัติ

4. สร้างกระแสระเบียบวาระแห่งชาติ ว่าด้วยเรื่องชุมชน

5. ส่งเสริมและรับรองมาตรฐานแผนชุมชน

5) ส่งเสริมการจัดการความรู้ของชุมชน

ชุมชนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ในการยกระดับคุณภาพชีวิต

6. พัฒนาระบบการจัดการความรู้ของชุมชน

6) การเสริมสร้างขีดสมรรถนะองค์กร

1. องค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง เก่งและดี

7. พัฒนาองค์กรสู่การเรียนรู้

8. ส่งเสริมกิจกรรมการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม จรรยาและวินัย

9. พัฒนาขีดสมรรถนะของบุคลากรให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

10. พัฒนาคุณภาพชีวิตของข้าราชการ

2. ประชาชนในชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความพึงพอใจในการให้บริการของกรมการพัฒนาชุมชน

11. พัฒนาระบบบริหารงานบุคคลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน

12. เพิ่มประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์องค์กร

13. พัฒนาการให้บริการข้อมูลข่าวสารของทางราชการ

14. เพิ่มประสิทธิภาพระบบงานสำนักงาน

3. ยกระดับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ

15. พัฒนากฎหมายงานพัฒนาชุมชน

16. พัฒนาระบบบริหารยุทธศาสตร์ทั่วทั้งองค์กร

17. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ การปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ

แผนผังลําดับงาน: กระบวนการสำรอง: 2.5  ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย


ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนาทุนชุมชน

เป้าประสงค์ ชุมชนมีการบริหารจัดการทุนชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัด

Base Line Data

ค่าเป้าหมาย (พ.ศ.2551-2554)

2551-2554

2551

2552

2553

2554

1. จำนวนที่มีการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

หมู่บ้านที่มีกลุ่มออมทรัพย์ฯ ระดับ 3 ปี 2550 รวม 3,000 กลุ่ม

229 หมู่บ้าน

4

75 หมู่บ้าน

75 หมู่บ้าน

75 หมู่บ้าน

2. จำนวนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สามารถบริหารจัดการกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

76,346 กองทุน

5,400 กองทุน

-

1,800 กองทุน

1,800กองทุน

1,800 กองทุน

กลยุทธ์หลัก พัฒนากลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่เข้มแข็งให้เป็นสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

โครงการ/กิจกรรมหลัก

1. จัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

2. ฝึกอบรมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุน

หน่วยงานรับผิดชอบหลัก สำนักส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้เข้มแข็ง

เป้าประสงค์ ประชาชนในหมู่บ้านมีอาชีพมั่นคงและมีรายได้เพิ่มขึ้น

ตัวชี้วัด

Base Line Data

ค่าเป้าหมาย (พ.ศ.2551-2554)

2551-2554

2551

2552

2553

2554

1. จำนวนหมู่บ้านที่มีรายได้เพิ่มขึ้น

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อยู่เย็นเป็นสุข 8,367 หมู่บ้าน

8,367 หมู่บ้าน

8

หมู่บ้าน

1,754 หมู่บ้าน

3,307 หมู่บ้าน

3,298 หมู่บ้าน

กลยุทธ์หลัก บูรณาการการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนแบบครบวงจร

โครงการ/กิจกรรมหลัก

1. จัดตั้งศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนครบวงจร

2. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)

3. เพิ่มประสิทธิภาพกลุ่มอาชีพด้านการบริหารจัดการ การผลิต การตลาดและการจัดการทุน

4. พัฒนาหมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

หน่วยงานรับผิดชอบหลัก สำนักส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน

สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การเพิ่มขีดความสามารถผู้นำชุมชน

เป้าประสงค์ ผู้นำชุมชนมีความรู้ คู่คุณธรรมสามารถบริหารจัดการชุมชนให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้

ตัวชี้วัด

Base Line Data

ค่าเป้าหมาย (พ.ศ.2551-2554)

2551-2554

2551

2552

2553

2554

1. จำนวนผู้นำชุมชนที่มีภาวะผู้นำและมีขีดความ สามารถในการบริหารจัดการโครงการ

691,100 คน

2,170 คน

229,643 คน

229,643 คน

229,644 คน

กลยุทธ์หลัก สร้างผู้นำมืออาชีพ (HIPP ภาคชุมชน) เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

โครงการ/กิจกรรมหลัก

1. จัดตั้งสถาบันพัฒนาผู้นำชุมชน

2. พัฒนาศักยภาพองค์กรสตรี อาสาพัฒนาชุมชนด้านการบริหารจัดการชุมชน

3. เสริมสร้างทักษะผู้นำชุมชนและผู้นำชุมชนรุ่นใหม่

หน่วยงานรับผิดชอบหลัก สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การขับเคลื่อนแผนชุมชน

เป้าประสงค์ แผนชุมชนมีคุณภาพและนำไปสู่การปฏิบัติ

ตัวชี้วัด

Base Line Data

ค่าเป้าหมาย (พ.ศ.2551-2554

2551-2554

2551

2552

2553

2554

1. ร้อยละของแผนชุมชนที่ผ่านการรับรองมาตรฐานแผนชุมชน

69,110 ชุมชน

50%

-

5%

15%

30%

2. ระดับความสำเร็จในการจัดทำแผนชุมชนแห่งชาติ

-

5

ขั้นตอน

-

5

ขั้นตอน

5

ขั้นตอน

5

ขั้นตอน

กลยุทธ์หลัก 1. สร้างกระแสระเบียบวาระแห่งชาติ ว่าด้วยเรื่องชุมชน

2. ส่งเสริมและรับรองมาตรฐานแผนชุมชน

โครงการ/กิจกรรมหลัก

1. จัดทำแผนชุมชนแห่งชาติ

2. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการบริหารจัดการชุมชน

3. ส่งเสริมและรับรองมาตรฐานแผนชุมชน

หน่วยงานรับผิดชอบหลัก สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน

ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การส่งเสริมการจัดการความรู้ของชุมชน

เป้าประสงค์ ชุมชนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ในการยกระดับคุณภาพชีวิต

ตัวชี้วัด

Base Line Data

ค่าเป้าหมาย (พ.ศ.2551-2554

2551-2554

2551

2552

2553

2554

จำนวนหมู่บ้านที่มีการพัฒนาไปสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้

69,110 หมู่บ้าน

906 หมู่บ้าน

87 หมู่บ้าน

300 หมู่บ้าน

300 หมู่บ้าน

219 หมู่บ้าน

กลยุทธ์หลัก พัฒนาระบบการจัดการความรู้ของชุมชน

โครงการ/กิจกรรมหลัก

1. สนับสนุนการบริหารการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนาชุมชน (จปฐ./กชช.2ค) โดยชุมชนมีส่วนร่วม

2. พัฒนาระบบการให้บริการข้อมูล จปฐ.และ กชช.2ค. (Data Achieve และ GIS)

3. เสริมสร้างศักยภาพชุมชนเพื่อการบริหารจัดการชุมชน

4. ส่งเสริมศูนย์เรียนรู้ชุมชน

5. สร้างชุมชนเข้มแข็งต้นแบบ

6. Excellence Center ด้านการพัฒนาชุมชน

หน่วยงานรับผิดชอบหลัก สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน

ศูนย์สารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน

ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การเสริมสร้างขีดสมรรถนะองค์กร

เป้าประสงค์

1. ประชาชนในชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความพึงพอใจในการให้บริการของกรมการพัฒนาชุมชน

2. พัฒนาให้เป็นองค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง เก่งและดี

3. ยกระดับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ

ตัวชี้วัด

Base Line Data

ค่าเป้าหมาย (พ.ศ.2551-2554)

2551-2554

2551

2552

2553

2554

มิติ : คุณภาพการให้บริการ

1. ร้อยละของประชาชนมีความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการและการดำเนินงานของกรมการพัฒนาชุมชน

80%

80%

80%

80%

80%

มิติ : ประสิทธิภาพ

2. ร้อยละของบุคลากรที่มีความพึงพอใจในระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมฯ

-

50% (3,800 คน)

5%

10%

30%

50%

3.จำนวนบุคลากรที่สามารถเข้าสู่ระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง (HIPPS)

45 คน

-

10

15

15

4.จำนวนบทเรียนที่ได้จากการประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์ที่สามารถนำไปปรับปรุงงาน และสร้างนวัตกรรม

4 เรื่อง

1 เรื่อง

2 เรื่อง

3 เรื่อง

4 เรื่อง

5.จำนวนหน่วยงานภายในของกรมการพัฒนาชุมชนที่ใช้คอมพิวเตอร์มาพัฒนาระบบงานสำนักงานในการให้บริการอย่างรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์

11 หน่วย

(ส่วนกลาง)

975 หน่วย

23 หน่วย

(ส่วนกลาง ศพช.เขต)

75 หน่วย

(จังหวัด)

-

877 หน่วย

(อำเภอ)

มิติ : การพัฒนาองค์กร

6.จำนวนผู้ใช้บริการเว็บไซต์กรมการพัฒนาชุมชน

200,000

ครั้ง

280,000

ครั้ง

220,000 ครั้ง

240,000 ครั้ง

260,000 ครั้ง

280,000 ครั้ง

7.จำนวนองค์ความรู้ที่ได้รับการเผยแพร่และนำไปใช้ประโยชน์

-

25 เรื่อง

10 เรื่อง

15 เรื่อง

20 เรื่อง

25 เรื่อง

8.ร้อยละของบุคลากรเป็นKnowledge worker

7.02%

50%

10%

10%

15%

15%

9. ระดับความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ

5 คะแนน

5 คะแนน

5 คะแนน

5 คะแนน

5 คะแนน

5 คะแนน

10. ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานตามคำรับรองฯ

4.75 คะแนน

4.75 คะแนน

4.75 คะแนน

4.75 คะแนน

4.75 คะแนน

11.ระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนค่านิยมองค์กรตามกระบวนการ 4 ขั้นตอน

-

12

หน่วยงานต้นแบบ

3 หน่วยงานต้นแบบ

3 หน่วยงานต้นแบบ

3

หน่วยงานต้นแบบ

3

หน่วยงานต้นแบบ

กลยุทธ์หลัก

1. พัฒนาองค์กรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้

2. ส่งเสริมกิจกรรมการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม จรรยาและวินัย

3. พัฒนาสมรรถนะของบุคลากรให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

4. พัฒนาคุณภาพชีวิตของข้าราชการ

5. พัฒนาระบบบริหารงานบุคคลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน

6. เพิ่มประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์องค์กร

7. พัฒนาการให้บริการข้อมูลข่าวสารของทางราชการ

8. เพิ่มประสิทธิภาพระบบงานสำนักงาน

9. พัฒนากฎหมายงานพัฒนาชุมชน

10. พัฒนาระบบบริหารยุทธศาสตร์ทั่วทั้งองค์กร

11. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ การปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ

โครงการ/กิจกรรมหลัก

1. พัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรมการพัฒนาชุมชน

2. เพิ่มประสิทธิภาพ การให้บริการข้อมูล

3. โครงการพัฒนาชุมชนใสสะอาด

4. เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม จรรยาข้าราชการกรมการพัฒนาชุมชน

5. จัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลและแผนบริหารกำลังคน

6. คัดเลือกข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง

7. เพิ่มประสิทธิภาพระบบประเมินผลการปฏิบัติงานกับการเชื่อมโยงระบบบริหารผลการปฏิบัติงานกับยุทธศาสตร์กรมฯ (Strategic Alignment)

8. การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ

9. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารยุทธศาสตร์กรมฯ

10. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานพัฒนาชุมชน

11. พัฒนาสมรรถนะบุคลากรเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กรมฯ

12. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้การปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ

13. จัดทำศูนย์ปฏิบัติการบริหารงานพัฒนาชุมชน

14. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน

15. การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ

16. เสริมสร้างค่านิยมองค์กร

หน่วยงานรับผิดชอบหลัก ทุกหน่วย

ส่วนที่ 2

แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ.2551-2554)

กรมการพัฒนาชุมชน



Œ เป็นการแบ่งส่วนราชการภายใน

No comments:

Contributors

Powered By Blogger