Investor..I need you...

บ้านเดี่ยว ถนนเลียบคลองเสาธงหิน กม ที่สอง นนทบุรี บางใหญ่ ข้างรถไฟฟ้า

อสังหาริมทรัพย์, แลกเปลี่ยนที่อยู่อาศัย ใน ไทย, กรุงเทพและปริมณทล, กรุงเทพ. วันที่ ก.ย. 14

แลกเปลี่ยนที่อยู่อาศัย

GALLERY

Summer hot..hot in UK now..

04/10/2008

IR and CDD move forward...but too slowly for change??

http://media.thaigov.go.th/pageconfig/viewcontent/viewcontent1.asp?pageid=471&directory=1815&contents=23952

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ฯ เปิดประตูต้อนรับ 2 หน่วยงานแรก กรมการพัฒนาชุมชน และ สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม พร้อมเข้าใช้พื้นที่ 1 ตุลาคม 51 นี้ (25/9/2008)
นายสุระชัย เอี่ยมวชิรสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) กล่าวว่า ในวันที่ 1 ตุลาคม 2551 กรมการพัฒนาชุมชน และ สำนักกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ประเดิมย้ายเข้าใช้พื้นที่พร้อมเปิดทำการอย่างเป็นทางการ เป็น 2 หน่วยงานแรก ณ อาคารรวมหน่วยราชการ (อาคาร B) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ และในวันที่ 6 ตุลาคม 2551 นี้ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) จะมีกำหนดย้ายเข้าพื้นที่และเปิดอย่างเป็นทางการเป็นหน่วยงานต่อไป

นายสุระชัยยังกล่าวเพิ่มเติมว่าศูนย์ราชการฯได้ก่อสร้างแล้วเสร็จเกือบทั้งหมดและได้จัด เตรียมความพร้อมของงานระบบต่างๆในอาคารศูนย์ราชการไว้แล้ว อาทิ ระบบประปา ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ เป็นต้น และได้จัดเตรียมที่จอดรถและร้านอาหารไว้อำนวยความสะดวกแก่หน่วยงานต่างๆไว้อีกด้วย

ทั้งนี้ในวันที่ 30 กันยายน 2551 บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) กรมธนารักษ์ และหน่วยงานผู้เข้าใช้พื้นที่ กลุ่มที่ 2 ได้แก่ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ กรมที่ดิน จะร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงการใช้ประโยชน์ในพื้นที่อาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ และลงนามในบันทึกข้อตกลงการส่งมอบ – รับมอบพื้นที่โดยพิธีลงนามดังกล่าวจัดขึ้น ณ ห้องประชุมสำนักงาน ธพส. อาคารศูนย์ประชุม สำหรับหน่วยงานอื่นๆกรมธนารักษ์จะได้เชิญมาร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงเป็นลำดับต่อไป


ที่มา : กระทรวงการคลัง
ผู้นำเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง

Abstract:

This study examined organizational identification in the context of two Thai non-profit organizations: government-run Community Development Department (CDD) and privately-run Population and Community Development Association (PDA). The degree to which CDD members identified with CDD and PDA members identified with PDA was assessed by using the Organiational Identification Questionnaire (OIQ) constructed by Cheney (1982). Comparison of PDA and CDD scores on the OIQ provided findings that mirror those of previous studies of organizational identification. Specifically, the level of organizational identification among those employees who work for the privately-run social cause organiation was significantly higher than was true of the employees who work for the government organization. Thus, the private organization appears to be more effective than the government organization in successfully fostering employee identification. However, while factor analysis of the OIQ revealed three dimensions, they were not the three dimensions theorized by Cheney. Instead, within the context of Thailand, the dimensions describing organizational identification appear to reflect: Pride in Membership (life values), Fit with the Organization (social values), and Comfort Zone (personal values).\\\\[PPT]



Building Local Social Capital? The Impact of the...

CDD increase incomes of participant communities. 6. CDD improve the dynamics of how communities interact with local government. Thai Social Capital ...

siteresources.worldbank.org/INTTHAILAND/Resources/333... - Similar pages


[PPT]Community-Based Financial Institution for Grassr...

Established March 8, 1974 by CDD (1962). Government Assistance. Negotiated with Min. of Finance and National Bank of Thailand for exemption….people engage ...

www.unescap.org/pdd/calendar/PovDecade/RT%20papers/Wa... -


PRESENTATION BY DR.YOY CHAMNAN..


RESEARCH...

http://cier.uchicago.edu/reldata/reldata.htm











I AM VERY UPSET ABOUT ...SOME OF OUR CDD QUALITY LIFE AND INCOME R TOO LOW..NOT APPROPRIATE WITH THIER HIGH RESPONSIBILITY AND HIGH PERFORMANCE..SO SOME OF PEOPLE ACCUSE THAT SOME DO ABOUT CORUPTION BY POLICY ..R EASY MORE THAN FIGHT AND NEGOTIATE IN BETTER INCOME AND HIGH WELFARE ON LOW LOAN BUT GOOD WELFARE LIKE SOME INFRA CONSTRUCTOR ORGANIZATION..THEY TRY TO SAVE THIER LITTLE INCOME CASH ONLY FOR SAFE DIGNITY THAT WE SEARVE ALL PEOPLE..NOT ONLY GRASSROOT...BUT STILL STRUGGLEING IN QUALITY NICE LIFE!!!NO PRIVATE OR PERSONAL WELFARE CAR OR HOME IN LOW INFRACONSTRUCTOR AREA..IF U NEED U MUST GET LOAN THAT LOW INCOME CANNOT APPROVAL!!SOME ACCUSE THAT SOME USE PUBLIC WELFARE ASIF THIER PERSONAL WELFARE CAUSE THEY MUST CORUPTION FOR MAINTAIN DIGNITY OF HUMAN RIGHT IN RURAL ZONE!! SOME OF THEM R ACCEPT CONCEPT OF CORUPTION MORE THAN EMBARRASS ABOUT MORE WELFARE LOAN WITH LOW INCOME..PAY BIG LONG TERM COMMITMENT INTEREST WITH FINANCE INSTITUE!!!

WHY THEY CANNOT RECOGNIZE IN THIER CAREER WORTH??HOW ABOUT PLOBLEMS OF MORE BUDGET ..MORE ROUTE POSITIONS..FUTURE GROWTH PERSONEL LIKE MINISTRY LEVEL OR NON PROFIT ORGANIZE..??WE HAVE NO BIG ORGANIZE IN HIGH POWER FOR NEGOTIATE FOR BETTER FUTURE OF GRASSROOT 'S PROTECT RIGHT WITH NON PROFIT ORGANIZATION LIKE US?//


SUGARCANE IN HOPELESS DAY





เลขที่โครงการ 127/2551

ชื่อโครงการ พร้อมใจกันลุกขึ้นมาต่อสู้กับความยากจน (Stand Up and Take Action)

หน่วยงานรับผิดชอบ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

1. หลักการและเหตุผล
การขจัดความยากจนและหิวโหยเป็นเป้าหมายแรกของการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (The Milennium Development Goals : MDGs.) โดยในปี 2550 องค์การสหประชาชาติได้เชิญชวนประชาชนมากกว่า 43 ล้านคนทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยได้เข้าร่วมโครงการฯ และให้คำมั่นสัญญาในความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อร่วมกันขจัดความยากจนให้หมดสิ้นไปภายในปี 2558 สำหรับประเทศไทยมีหลายหน่วยงานรวมทั้งกระทรวงมหาดไทยเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ในปี 2551 นับเป็นครึ่งทางของ MDGs. องค์การสหประชาชาติ ได้เชิญกระทรวงมหาดไทยให้เป็นหน่วยงานหลักในการรณรงค์ให้คนไทยพร้อมใจกัน ลุกขึ้นยืน เพื่อช่วยกันขจัดความยากจน

กระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชนเป็นแกนประสาน การดำเนินงานฯ โดยในระหว่างวันที่ 17 19 ตุลาคม นี้ จะเป็นห้วงเวลาที่ เราคนไทยจะพร้อมใจกันลุกขึ้นมาต่อสู้กับความยากจนให้หมดสิ้นไป ภายใต้การรณรงค์ที่มุ่งเน้นกระบวนการบริหารจัดการและกระบวนการกระจายอำนาจให้มีส่วนช่วยลดความยากจน ซึ่งทั้งสองกระบวนการอยู่ภายใต้การส่งเสริมของกระทรวงมหาดไทยและทีมงานขององค์การสหประชาชาติ ในประเทศไทย โดยให้ผู้บริหารระดับจังหวัด ท้องถิ่นและชุมชนเป็นแกนในการสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนร่วมกันให้คำมั่นสัญญาว่าจะลดความยากจนและเป็นแกนหลักในการจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อขจัดความยากจน โดยเฉพาะครัวเรือนยากจนต้องร่วมกันประกาศเจตนารมณ์พร้อมเอาชนะความยากจนด้วยการดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

กระทรวงมหาดไทย จึงได้จัดทำโครงการพร้อมใจกันลุกขึ้นมาต่อสู้กับความยากจน (Stand Up and Take Action) ขึ้น

2. วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อปลุกกระแสให้คนจนลุกขึ้นต่อสู้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยตนเอง

2.2 เพื่อผนึกกำลังของหน่วยราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในการแก้ไขปัญหาความยากจนร่วมกัน

2.3 เพื่อเผยแพร่ให้นานาชาติได้รับทราบกระบวนการพร้อมใจลุกขึ้นมาต่อสู้กับการแก้ไขปัญหาความยากจนของประเทศไทย

3. พื้นที่เป้าหมาย

75 จังหวัด

4. ระยะเวลา

เริ่มตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป

5. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

5.1 กระทรวงมหาดไทย (สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การประปาส่วนภูมิภาค กรมการพัฒนาชุมชน )

5.2 กระทรวงสาธารณสุข

5.3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

5.4 กระทรวงพลังงาน

5.5 กระทรวงศึกษาธิการ

5.6 กระทรวงแรงงาน

5.7 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5.8 สำนักนายกรัฐมนตรี (กรมประชาสัมพันธ์)

6. แนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจน

6.1. ส่วนกลาง

- กระทรวงมหาดไทยร่วมกับองค์การสหประชาชาติ กำหนดกรอบทิศทาง และแผนการขับเคลื่อนงาน

- หน่วยงานสังกัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 5 หน่วยงานจะร่วมมือกันดำเนินงานตามโครงการ และหน่วยงานในกระทรวงตามภารกิจที่สำคัญ (สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมการพัฒนาชุมชน)

- หน่วยงานสังกัดกระทรวง ทบวง กรมฯ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพลังงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และกรมประชาสัมพันธ์ จะร่วมมือกันสนับสนุนอย่างเต็มที่

6.2 ส่วนภูมิภาค

ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด บูรณาการและมอบหมายภารกิจหน่วยงานระดับจังหวัดที่เกี่ยวข้อง

7. กิจกรรมหลัก

7.1. กิจกรรมระดับจังหวัด

7.1.1 การประกาศคำมั่นสัญญา

เป็นกิจกรรมที่ ผวจ. หัวหน้าส่วนราชการ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด/ตำบล นายกเทศมนตรีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน ครัวเรือนยากจน ร่วมกันประกาศคำมั่นสัญญาที่จะร่วมกันลดความยากจน

-ภาคราชการจะร่วมมือกันสนับสนุนการแก้ปัญหาความยากจน

-ภาคประชาชน (ครัวเรือนเป้าหมาย) สัญญาว่าจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง ขยัน ประหยัด อดออม

7.1.2 การจัดกิจกรรมเดินรณรงค์

เป็นกิจกรรมที่กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียน นักศึกษา ผู้นำสตรี ร่วมกันจัดพาเหรดเดินธงสัญลักษณ์ แจกธงติดรถ/ ถือโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างกระแสความตื่นตัว

7.1.3 คลินิกแก้จน

เป็นกิจกรรมที่ส่วนราชการจัดเพื่อให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายที่มาร่วมกิจกรรม คือ

คนจน คนว่างงาน และประชาชนทั่วไป ดังนี้

7.1.3.1 นิทรรศการ

หน่วยราชการจัดแสดงนิทรรศการ การแก้ไขปัญหาตามประเด็นเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals – MDGs) (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สาธารณสุขจังหวัด พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด)

-เป้าหมายที่หนึ่ง : ขจัดความยากจนและความหิวโหย

-เป้าหมายที่สอง :ให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา

-เป้าหมายที่สาม : ส่งเสริมบทบาทสตรีและความเท่าเทียมกันทางเพศ

-เป้าหมายที่สี่ : ลดอัตราการตายของเด็ก

-เป้าหมายที่ห้า: พัฒนาสุขภาพสตรีมีครรภ์

-เป้าหมายที่หก: ต่อสู้โรคเอดส์ มาเลเรีย และโรคสำคัญอื่น ๆ

-เป้าหมายที่เจ็ด: รักษาและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

-เป้าหมายที่แปด: ส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในประชาคมโลก

7.1.3.2 การแก้ไขปัญหาความยากจน

-สถานีสอนทำบัญชีครัวเรือน ครัวเรือนยากจนเป้าหมายฝึกการทำบัญชีครัวเรือนเพื่อวิเคราะห์ตัวเอง ทำแผนชีวิต ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้(ตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัด)

-สถานีส่งเสริมการออม ครัวเรือนยากจนเรียนรู้และเข้าใจหลักการทำงานของกลุ่มออมทรัพย์ พร้อมที่จะเริ่มต้นการออมด้วยการเปิดบัญชีออมทรัพย์ จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในพื้นที่ที่ยังไม่มีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต(กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต) (พัฒนาการจังหวัด)

-ตลาดนัดแรงงาน (แรงงานจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด) เพื่อจัดหางานให้แก่คนจน

-ตลาดนัดสุขภาพ (โรงพยาบาล และสาธารณสุขจังหวัด)

-ตลาดนัดอาชีพ (พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด วิทยาลัยการอาชีพ) ฝึกอาชีพระยะสั้น สามารถนำไปประกอบอาชีพได้

7.2. กิจกรรมระดับชุมชน (ตำบล)

7.2.1 การประกาศเจตนารมณ์ของครัวเรือนยากจน

-องค์การบริหารส่วนตำบล และส่วนราชการที่ปฏิบัติงานในตำบล ร่วมประกาศเจตนารมณ์ในการแก้ไขปัญหาความยากจนโดย

-คนจนประกาศเจตนารมณ์ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน และประกาศว่าจะเปลี่ยนแปลงตนเองโดยลด ละ เลิก อบายมุข และจะขยัน ประหยัด อดออม ในการวางแผนชีวิต

-การจัดทำบัญชีครัวเรือนของครัวเรือนเป้าหมาย (ตรวจบัญชีสหกรณ์ ธกส. ออมสิน)

-กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต (พัฒนาชุมชน) จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และส่งเสริมให้ครัวเรือนยากจนสมัครเป็นสมาชิก

-ส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อกำหนดสัตยาบันร่วมกันในการจัดทำเวทีประชาคม เพื่อวิเคราะห์ Family Folder ของครัวเรือนยากจน แล้วนำมาแก้ไขปัญหาความยากจน

7.2.2 การบริหารจัดการชุมชน

กิจกรรมการลงสัตยาบันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับคณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อแสดงความรับผิดชอบในฐานะกลไกการบริหารจัดการของรัฐบาลและท้องถิ่นจะร่วมกันทำหน้าที่ขจัดความยากจนของชุมชนให้หมดสิ้นไป

7.2.3 การระดมพลังชุมชน

กิจกรรมสำหรับประชาชนทั่วไปเพื่อให้ตระหนักถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม สาธารณสุข

เช่น จัดกิจกรรมลดการใช้รถยนต์ ลดการใช้ถุงพลาสติก ระดมสิ่งของเหลือใช้จากคนรวยช่วยคนจน ปลูกพืชสมุนไพรใช้เพื่อสุขภาพ การฝึกซ้อมการอพยพในกรณีเกิดปัญหาอุบัติภัย

8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

8.1. ทุกภาคส่วนร่วมมือกันขจัดปัญหาความยากจนให้หมดสิ้นไป

8.2. ครัวเรือนยากจนมีการพัฒนาตนเองและครอบครัว

8.3. ชุมชนมีศักยภาพสามารถดูแลและแก้ไขปัญหาครัวเรือนยากจนในชุมชนได้ตรงตามความต้องการ

8.4 ประชาสัมพันธ์ให้คนในชาติและนานาชาติได้รู้ถึงการแก้ไขปัญหาความยากจนของประเทศไทย

9. ผู้เสนอโครงการ……………………………………………………………………………………

(นายสุชาติ สุวรรณ)
รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน

10. ผู้ให้ความเห็นชอบโครงการ………………………………………………………………………

(นายปรีชา บุตรศรี)
อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน

11.ผู้อนุมัติโครงการ ............................................................................................................................
(..................................................)

ปลัดกระทรวงมหาดไทย


No comments:

Contributors

Powered By Blogger