อันเนื่องมาจากช่วงนี้มีความสมานฉันทในระหว่างกรมในกระทรวงเพราะใกล้สิ้นปีงบประมาณจึงมีกิจกรรมมากมายทั้งการประชุมสามัคคีชุมนุมและการเดินทางไปต่างประเทศกันอุตลุดเพราะต้องใช้การประชุมกับเจรจาให้เป็นประโยชนที่สุดต่อปวงชนชาวไทยและผู้ที่ต้องรับความช่วยเหลือตามที่ร้องขอรัฐบาลไทยมา ให้คุ้มกับค่าใช้จ่ายหัวหนึ่งเฉียดแสนบาท ในสารพัดกิจกรรมนอกประเทศนั้นๆ
เมื่อคราวก่อนหลงทางไปมาเรื่องประชุมกิจกรรมต่างประเทศเพราะหากรมช่างไม่เจอเลยนึกเสียดายเหมือนกันว่าเรื่องเกี่ยวกับที่ดินและผังเมืองอันที่จริงมีผลกับการลดปัญหาความยากจนอยู่มากเมื่อรัฐกล้าบังคับกฏหมายอย่างเป็นธรรมกับผู้มีอันจะกินที่ใช้ประโยชนจากผังเมืองที่ดินมาปันส่วนให้รากหญ้าได้ประโยชนบ้างบางทีเราอาจมีคนจนน้อยลงก็ได้นะเนี่ย ชุดปฎิบัติการข้ามทวีปรุ่นต่อไปเราคงไปพร้อมกันหลายกรมหลายกระทรวงแน่เลยคราวนี้ สงสัยจะสนุกสนานผจญภัยน่าดู
MAYBE NEXT MISSIONS and FORUMS ABOUT POVERTY ERADICATE OF ASIA ...WE CAN GET MORE ENGINEERS AND TECHNICAL OFFICER IN LAND ,PROPERTY,BORDER law specialists DEPARTMENTS TOGETHER.with all MOU ACTIONS!!!!...GOOD IDEA TO HAVE ADVENTURE TOGETHER OUTBOUND!!!!
sugar hope again after big meetings...
http://www.ryt9.com/general/tag/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99/กมธ.งบฯ เร่งถก หลังล่าช้ากว่า 50 ชม.
รัฐสภา 27 ก.ค. - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2553 วันนี้ (27 ก.ค.) พิจารณาในส่วนของกระทรวงมหาดไทย เริ่มที่กรมการปกครอง จำนวน 28,651,656,300 บาท เป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่มีกรรมาธิการฯ จากรัฐบาลและฝ่ายค้าน สงสัยหรือติดใจซักถามนายวงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมการปกครอง แต่ประการใด
ทั้งนี้ นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ในฐานะรองประธานกรรมาธิการฯ กล่าวระหว่างการประชุม ว่า การทำงานของกรรรมาธิการฯ ล่าช้ากว่ากำหนดเดิมอย่างมาก ประมาณ 50 ชั่วโมง หากไม่มีกรรมาธิการฯ คนไหนติดใจ ก็ควรจะให้ผ่านงบประมาณของกรมดังกล่าวไป ทำให้ที่ประชุมผ่านงบฯ ของกรมการปกครองด้วยเวลาเพียง 10 นาที ถือว่าเป็นการให้ผ่านงบประมาณของส่วนราชการที่เร็วที่สุดในการพิจารณางบ ประมาณในปี 2553
จากนั้น ที่ประชุมได้ผ่านงบประมาณในส่วนของกรมพัฒนาชุมนุม จำนวน 3,390,239,100บาท กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 2,934,135,400 กรมที่ดิน 4,891,730,900 บาท และกรมโยธาธิการและผังเมือง 4,635,901,700 บาท โดยกรรมาธิการฯ จากฝ่ายค้านและรัฐบาลให้ความสำคัญในส่วนของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและ กรมที่ดินเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเรื่องการถือครองที่ดินของชาวต่างชาติผ่านนอมินีคนไทย
นา ยอนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ อธิบดีกรมที่ดิน ยอมรับว่า มีการร้องเรียนกรณีนอมินีมาโดยตลอด และกรมที่ดินพยายามจะจัดการกับปัญหานี้ ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยตรวจสอบจากความสมเหตุสมผลของรายได้ผู้ซื้อที่ดิน เช่น ถ้าซื้อที่ดินในราคาหลายล้านบาท แต่มีเงินเดือนหรือรายได้ประจำ น้อยกว่าจำนวนที่ดินที่ซื้อมาก ก็จะเข้าข่ายเป็นผู้สงสัยทันที โดยรูปแบบที่กรมที่ดินตรวจพบจะเป็นลักษณะของการแต่งงานกับคนไทย ซึ่งถ้าพบการกระทำที่ผิดกฎหมาย กรมที่ดินจะดำเนินการสอบสวน และเพิกถอนสิทธิ์การทำนิติกรรมทันที .- สำนักข่าวไทย
อัพเดตเมื่อ 2009-07-27 18:12:29
กรมที่ดิน รื้อกฎหมายจัดสรร12ประเด็น
อ่าน (196)
"กรมที่ดิน" รื้อใหญ่ พ.ร.บ. การจัดสรรที่ดิน เสนอแก้ไขรวดเดียว 12 ประเด็น หวังอุดช่องโหว่ข้อกฎหมาย งัดไม้เด็ดสยบเจ้าของโครงการไม่ให้เอาเปรียบผู้ซื้อบ้าน และกำราบลูกบ้านที่ชอบสร้างปัญหาบุกรุกพื้นที่ส่วนกลาง-ใช้ที่ดินผิดวัตถุ ประสงค์เพื่อการอยู่อาศัย พร้อมเสนอแก้ข้อกำหนดล้อมคอกปัญหาถนนส่วนกลางมีภาระจำยอม และเพิ่มมาตรฐานระบบระบายน้ำ
นาย บุญเชิด คิดเห็น ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริม ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กรมที่ดิน เปิดเผย "ประชา ชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้กรมที่ดินอยู่ระหว่างเสนอปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและข้อกำหนดที่สำคัญๆ ใน 2 ส่วนด้วยกัน คือ 1)การแก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน และ 2)แก้ไขพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 เพื่อให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้มากขึ้น
การ เสนอแก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินมีประเด็นที่จะแก้ไข 2 ส่วน คือ การแก้ไขข้อ กำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินตามมาตรา 8 (3) พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน เรื่องการขออนุญาตใช้ถนนเมนหลักในโครงการเป็นทางร่วมกรณีผู้ประกอบการขยายโค รงการเฟสใหม่ในพื้นที่ติดกัน เนื่องจากกรมที่ดินได้รับการร้องเรียนจากผู้อยู่อาศัยจำนวนมากว่า ได้รับความเดือดร้อนและไม่ได้รับความสะดวกในการใช้ถนนเมนหลัก เพราะปัจจุบันผู้ประกอบการสามารถขออนุญาตจากลูกบ้านให้ใช้ถนนเมนหลักเป็นทาง เข้าออกร่วมกันได้ โดยให้เป็นถนนภาระจำยอม
กรมที่ดินจึงเสนอให้แก้ไข กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องนำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับแผนผังการขยาย โครงการในอนาคต เพื่อจะได้กำหนดให้โครงการก่อสร้างถนนเมนหลักรองรับการสัญจรไปมาได้เพียงพอ และไม่ส่งผลกระทบต่อลูกบ้าน นอกจากนี้จะเสนอแก้ไขข้อกำหนดเพื่อเพิ่มเติมมาตรฐานระบบระบายน้ำในโครงการ ให้ชัดเจนขึ้น เนื่องจากมีการร้องเรียนเข้ามาว่าโครงการจัดสรรบางแห่งทำเลที่ตั้งอยู่ต่ำ กว่าแหล่งน้ำในบริเวณใกล้เคียง อาศัยวิธีติดตั้งเครื่องสูบน้ำออกจากโครงการเพื่อระบายน้ำ แทนที่จะถมดินเพื่อให้พื้นที่ก่อสร้างอยู่สูงกว่าแหล่งน้ำ
นายบุญ เชิดกล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าการเสนอปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.จัดสรรฯ ขณะนี้เรื่องยังอยู่ที่กองนิติการ กรมที่ดิน โดยสำนักส่งเสริมธุรกิจอสังหาฯ เสนอแก้ไข 12 เรื่อง คือ 1)มาตรา 4 เพิ่มเติมนิยาม "สาธารณูปโภค" จากปัจจุบันมีเพียงนิยามของคำว่า "บริการสาธารณะ" จึงทำให้เกิดปัญหาว่าอะไรบ้างที่เป็นสาธารณูปโภคในโครงการ และมีผลต่อการค้ำประกันการบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และการโอนกรรมสิทธิ์สาธารณูปโภคในโครงการ
2)มาตรา 5 เพิ่มเติมข้อความให้หน่วยงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.จัดสรรที่ดินฯ เช่น โครงการที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ ต้องจัดให้มีมาตรฐานการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะตามมาตรฐานที่ กำหนดใน พ.ร.บ.จัดสรรที่ดินฯ
3)มาตรา 44 เพิ่มเติมคำว่า "และ-หรือ" ต่อท้ายข้อความในวงเล็บ 2 เพื่อแก้ปัญหาในทางปฏิบัติ กรณีเจ้าของโครงการทำโครงการหลอกๆ ขึ้นมาเสนอคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินไม่อนุมัติโครงการ เช่น การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายกับผู้ซื้อในอัตราสูง
4)เพิ่มเติมบทบัญญัติ ให้ผู้ซื้อที่ดินจำนวนครึ่งหนึ่งหรือ 50% ของแปลงย่อยที่ดินในโครงการ สามารถรวมตัวกันจัดตั้งนิติบุคคลได้ และกำหนดให้ผู้จัดสรรในฐานะเจ้าของโครงการต้องจ่ายเงินสมทบการบำรุงรักษา สาธารณูปโภคให้ครบ 7% ของค่าก่อสร้างสาธารณูปโภคอย่างต่อเนื่อง
5) เสนอให้ที่ดินสาธารณูปโภคตกเป็นของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรทันที และให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจในการออกใบแทนและแจ้งการได้มาของที่ดิน สาธารณูปโภค เพื่อแก้ปัญหาเจ้าของโครงการไม่ส่งมอบโฉนดที่ดิน หรือไม่โอนทรัพย์สินให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
6)มาตรา 13 เสนอปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการจัดสรรฯ หลังกรมโยธาธิการและกรมผังเมืองถูกรวมเป็นกรมโยธาธิการและผังเมือง 7) มาตรา 22 เสนอให้อำนาจคณะกรรมการจัดสรรฯ สามารถวินิจฉัยว่ามีการจัดสรรที่ดินหรือไม่ เพื่อแก้ปัญหาการหลีกเลี่ยงขออนุญาตจัดสรร
8)เสนอเพิ่มอำนาจของคณะ กรรมการจัดสรรฯ ที่จะสั่งไม่ให้จำหน่ายที่ดินในโครงการได้ กรณีตรวจสอบพบว่าผู้จัดสรรที่ดินกระทำผิดไปจากที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดิน อนุญาต 9)มาตรา 52 เพิ่ม
เติมคำว่า "ผู้ใดกระทำการใดๆ..." เพื่อให้ครอบคลุมการเอาผิดถึงผู้ซื้อได้ จากปัจจุบันที่ผู้ซื้อกระทำผิดตาม พ.ร.บ.จัดสรรฯ อาทิ การรุกล้ำพื้นที่ส่วนกลาง
10)เสนอให้มีกฎหมาย คุ้มครองไม่ให้ที่ดินสาธารณูปโภคถูกอายัดหรือบังคับคดี เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากในการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร 11)กำหนดระยะเวลาให้ผู้จัดสรรที่ดินต้องรังวัดเพื่อแบ่งแปลงที่ดินในโครงการ หากฝ่าฝืนใบอนุญาตจัดสรรจะถูกยกเลิก และ 12)ห้ามไม่ให้ผู้ซื้อใช้ประโยชน์ที่ดินผิดวัตถุประสงค์เพื่อการอยู่อาศัย อาทิ ซื้อที่ดินไปก่อสร้างเป็นโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
ที่มาของข้อมูล:
http://www.thaihomemaster.com/showinformation.php?TYPE=31&ID=409
http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.opdc.go.th/uploads/media/Picture%C2%AD_MOU5.jpg&imgrefurl=http://www.opdc.go.th/content.php%3Fmenu_id%3D5%26content_id%3D1369&usg=__YcYkH4kl2tVaArXB6vCnf6Mbcs4=&h=305&w=458&sz=23&hl=th&start=4&sig2=ZADRDEJluIQWj5Qt8RBLkA&um=1&tbnid=aQ6RVDgOVyCWdM:&tbnh=85&tbnw=128&prev=/images%3Fq%3D2553,%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%258E%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2599,%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%258E%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%259C%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2587%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%26hl%3Dth%26client%3Dfirefox-a%26rls%3Dorg.mozilla:th:official%26sa%3DN%26um%3D1&ei=_HOrSuq7B5fW7APG88nWBwนาย บุญเชิด คิดเห็น ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริม ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กรมที่ดิน เปิดเผย "ประชา ชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้กรมที่ดินอยู่ระหว่างเสนอปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและข้อกำหนดที่สำคัญๆ ใน 2 ส่วนด้วยกัน คือ 1)การแก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน และ 2)แก้ไขพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 เพื่อให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้มากขึ้น
การ เสนอแก้ไขข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินมีประเด็นที่จะแก้ไข 2 ส่วน คือ การแก้ไขข้อ กำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินตามมาตรา 8 (3) พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน เรื่องการขออนุญาตใช้ถนนเมนหลักในโครงการเป็นทางร่วมกรณีผู้ประกอบการขยายโค รงการเฟสใหม่ในพื้นที่ติดกัน เนื่องจากกรมที่ดินได้รับการร้องเรียนจากผู้อยู่อาศัยจำนวนมากว่า ได้รับความเดือดร้อนและไม่ได้รับความสะดวกในการใช้ถนนเมนหลัก เพราะปัจจุบันผู้ประกอบการสามารถขออนุญาตจากลูกบ้านให้ใช้ถนนเมนหลักเป็นทาง เข้าออกร่วมกันได้ โดยให้เป็นถนนภาระจำยอม
กรมที่ดินจึงเสนอให้แก้ไข กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องนำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับแผนผังการขยาย โครงการในอนาคต เพื่อจะได้กำหนดให้โครงการก่อสร้างถนนเมนหลักรองรับการสัญจรไปมาได้เพียงพอ และไม่ส่งผลกระทบต่อลูกบ้าน นอกจากนี้จะเสนอแก้ไขข้อกำหนดเพื่อเพิ่มเติมมาตรฐานระบบระบายน้ำในโครงการ ให้ชัดเจนขึ้น เนื่องจากมีการร้องเรียนเข้ามาว่าโครงการจัดสรรบางแห่งทำเลที่ตั้งอยู่ต่ำ กว่าแหล่งน้ำในบริเวณใกล้เคียง อาศัยวิธีติดตั้งเครื่องสูบน้ำออกจากโครงการเพื่อระบายน้ำ แทนที่จะถมดินเพื่อให้พื้นที่ก่อสร้างอยู่สูงกว่าแหล่งน้ำ
นายบุญ เชิดกล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าการเสนอปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.จัดสรรฯ ขณะนี้เรื่องยังอยู่ที่กองนิติการ กรมที่ดิน โดยสำนักส่งเสริมธุรกิจอสังหาฯ เสนอแก้ไข 12 เรื่อง คือ 1)มาตรา 4 เพิ่มเติมนิยาม "สาธารณูปโภค" จากปัจจุบันมีเพียงนิยามของคำว่า "บริการสาธารณะ" จึงทำให้เกิดปัญหาว่าอะไรบ้างที่เป็นสาธารณูปโภคในโครงการ และมีผลต่อการค้ำประกันการบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และการโอนกรรมสิทธิ์สาธารณูปโภคในโครงการ
2)มาตรา 5 เพิ่มเติมข้อความให้หน่วยงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.จัดสรรที่ดินฯ เช่น โครงการที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ ต้องจัดให้มีมาตรฐานการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะตามมาตรฐานที่ กำหนดใน พ.ร.บ.จัดสรรที่ดินฯ
3)มาตรา 44 เพิ่มเติมคำว่า "และ-หรือ" ต่อท้ายข้อความในวงเล็บ 2 เพื่อแก้ปัญหาในทางปฏิบัติ กรณีเจ้าของโครงการทำโครงการหลอกๆ ขึ้นมาเสนอคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินไม่อนุมัติโครงการ เช่น การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายกับผู้ซื้อในอัตราสูง
4)เพิ่มเติมบทบัญญัติ ให้ผู้ซื้อที่ดินจำนวนครึ่งหนึ่งหรือ 50% ของแปลงย่อยที่ดินในโครงการ สามารถรวมตัวกันจัดตั้งนิติบุคคลได้ และกำหนดให้ผู้จัดสรรในฐานะเจ้าของโครงการต้องจ่ายเงินสมทบการบำรุงรักษา สาธารณูปโภคให้ครบ 7% ของค่าก่อสร้างสาธารณูปโภคอย่างต่อเนื่อง
5) เสนอให้ที่ดินสาธารณูปโภคตกเป็นของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรทันที และให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจในการออกใบแทนและแจ้งการได้มาของที่ดิน สาธารณูปโภค เพื่อแก้ปัญหาเจ้าของโครงการไม่ส่งมอบโฉนดที่ดิน หรือไม่โอนทรัพย์สินให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
6)มาตรา 13 เสนอปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการจัดสรรฯ หลังกรมโยธาธิการและกรมผังเมืองถูกรวมเป็นกรมโยธาธิการและผังเมือง 7) มาตรา 22 เสนอให้อำนาจคณะกรรมการจัดสรรฯ สามารถวินิจฉัยว่ามีการจัดสรรที่ดินหรือไม่ เพื่อแก้ปัญหาการหลีกเลี่ยงขออนุญาตจัดสรร
8)เสนอเพิ่มอำนาจของคณะ กรรมการจัดสรรฯ ที่จะสั่งไม่ให้จำหน่ายที่ดินในโครงการได้ กรณีตรวจสอบพบว่าผู้จัดสรรที่ดินกระทำผิดไปจากที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดิน อนุญาต 9)มาตรา 52 เพิ่ม
เติมคำว่า "ผู้ใดกระทำการใดๆ..." เพื่อให้ครอบคลุมการเอาผิดถึงผู้ซื้อได้ จากปัจจุบันที่ผู้ซื้อกระทำผิดตาม พ.ร.บ.จัดสรรฯ อาทิ การรุกล้ำพื้นที่ส่วนกลาง
10)เสนอให้มีกฎหมาย คุ้มครองไม่ให้ที่ดินสาธารณูปโภคถูกอายัดหรือบังคับคดี เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากในการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร 11)กำหนดระยะเวลาให้ผู้จัดสรรที่ดินต้องรังวัดเพื่อแบ่งแปลงที่ดินในโครงการ หากฝ่าฝืนใบอนุญาตจัดสรรจะถูกยกเลิก และ 12)ห้ามไม่ให้ผู้ซื้อใช้ประโยชน์ที่ดินผิดวัตถุประสงค์เพื่อการอยู่อาศัย อาทิ ซื้อที่ดินไปก่อสร้างเป็นโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
ที่มาของข้อมูล:
http://www.thaihomemaster.com/showinformation.php?TYPE=31&ID=409
http://www.opdc.go.th/content.php?menu_id=5&content_id=1369
สำนักงาน ก.พ.ร. และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรวม 16 ส่วนราชการ ร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางการลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการ โดยมี สำนักงาน ก.พ.ร.เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนทางวิชาการ จนได้ข้อสรุปที่มีการกำหนดขั้นตอน ระยะเวลา และหลักเกณฑ์การพิจารณาอย่างชัดเจน เพื่อให้กรมที่ดินและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ และร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง รวม 3 กระบวนงาน ได้แก่
1. กระบวนงานการขออนุญาตตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน 2. กระบวนงานการขอสัมปทานตามมาตรา 12 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
3. กระบวนงานการขอถอนสภาพที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เพื่อให้ทบวงการเมืองใช้ประโยชน์ทางราชการ สำหรับส่วนราชการที่ร่วมลงนามในครั้งนี้ นอกจากกรมที่ดินและสำนักงาน ก.พ.ร. แล้ว ยังมีส่วนราชการอีก 14 แห่ง ร่วมลงนาม ประกอบด้วย กรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรม โยธาธิการและผังเมือง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรมพัฒนาที่ดิน กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักกฎหมายกระทรวงมหาดไทย กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมศิลปากร กองบัญชาการทหารสูงสุด
ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. ได้กล่าวในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือฯ ความว่า ตามที่กรมที่ดินร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวม 16 แห่ง ได้ปรับปรุงการลดขั้นตอนและระยะเวลา การปฏิบัติราชการร่วมกัน ถือ ได้ว่าเป็นการทำงานแบบบูรณาการ จนสามารถบรรลุผลสำเร็จในการทำบันทึกข้อตกลง นับว่าเป็นความสำเร็จของการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐในการพัฒนาระบบ งานบริการที่มีความเชื่อมโยงหลายส่วนราชการ ให้สามารถกำหนดและลดขั้นตอน รวมทั้งระยะเวลาการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการประชาชน
http://www.thaihomemaster.com/showinformation.php?TYPE=31&ID=1291
กฎกระทรวง2548 กำหนดผู้ตรวจสอบอาคาร 9 ประเภท
หมวด : กฏหมายน่ารู้
จำนวนคนอ่าน 702
จำนวนคนอ่าน 702
กฎกระทรวงกำหนด ผู้ตรวจสอบอาคาร พ.ศ. 2548 โดยอาคารที่เข้าข่ายต้องตรวจสอบทั้ง 9 ประเภท ต้องตรวจให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับจากกฎหมายบังคับใช้ คือต้องตรวจสอบภายใน 29ธันวาคม 2550 กระทรวงมหาดไทย โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้มีการตราพระราชบัญญัติ มาตรา 32ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 และออกกฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่จัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ. 2548 และกฎกระทรรวงกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ตรวจสอบ หลักเกณพ์การขอขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ และหลักเกณฑ์การตรวจสอบอาคาร พ.ศ. 2548 โดยเฉพาะ กฎกระทรวงกำหนดอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ. 2548 ที่กำหนดให้เจ้าของอาคารบางชนิดหรือบางประเภทที่ต้องจัดให้มีการตรวจสอบ และบำรุงรักษา โครงสร้างและระบบต่างๆ ของอาคาร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้อาคารหลังจากที่เปิดใช้แล้วมีสภาพที่สมบูรร์ ใช้งานได้ตลอดเวลา อันจะก่อให้เกิดความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน ของเจ้าของอาคาร และประชาชนผู้ใช้อาคาร อย่างไรก็ดีกฎกระทรวงฯดังกล่าวได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29ธันวาคม 2548 เมื่อเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา กำหนดให้ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ เจ้าของอาคารต่างๆ จะต้องดำเนินการตามที่กฎกระทรวงกำหนด ถ้าเป็นอาคารก่อสร้างใหม่จะต้อง จัดให้มีการจตรวจสอบ ภายใน 1 ปี ส่วนอาคารเก่าที่ก่อสร้างก่อนกฎหมายบังคับใช้ ต้องตรวจให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับจากกฎหมายบังคับใช้ คือต้องตรวจสอบภายใน 29ธันวาคม 2550 นี้ โดยอาคารที่เข้าข่ายต้องตรวจสอบมี 9 ประเภท ดังนี้
- พื้นที่ 2,000 – 4,999 ตารางเมตร ผ่อนผันให้ถึง 25 ตุลาคม 2555 9. ป้ายที่มีความสูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือ พื้นที่ป้ายมากกว่า 50 ตารางเมตร หรือ ป้ายที่ติดตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้า ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป ทั้งนี้อาคารทั่วประเทศ ที่เข้าข่ายจะอยู่ประมาณ 30,000 อาคาร เฉพาะ กรุงเทพมหานคร มีประมาณ 10,000 กว่าอาคาร อย่างไรก็ดี อาคารทั้ง 9 ประเภทนี้ จะต้องดำเนินการ ตรวจสอบให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 29 ธันวาคม 2550 ในขณะที่ ผู้ตรวจสอบที่เป็นรูปแบบบริษัทมีขึ้นทะเบียนไว้ และขึ้นทะเบียนในฐานะบุคคลธรรมดา รวมๆแล้ว ขณะนี้ มีไม่ถึง 1 พันราย สิ่งที่เป็นประเด็นคือจำนวนผู้ตรวจสอบมีเพียงพอ ที่จะตรวจสอบอาคารทั้งหมดทันหรือไม่ และ ถ้าอาคารที่ตรวจสอบไม่ทันและไม่มีใบรับรอง การตรวจสอบ และแก้ไขให้เสร็จในวันและเวลาที่กำหนด ถือว่าเข้าข่ายอาคารผิดกฎหมาย ต้อง จำคุก ไม่3 เดือน ปรับ ไม่เกิน 60,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ และ เสียค่าปรับวันละ 10,000 บาท/วัน โทษดังกล่าวจะนำมาใช้ โดยมีข้อผ่านผันหรือไม่ ขณะนี้ยังไม่มีใครตอบได้ สำหรับ เหตุผลและความจำเป็น ที่ต้องมีกฎกระทรวง กำหนดประเภทอาคาร ที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ. 2548 ที่กำหนดให้มีการตรวจสอบอาคาร หลายคนคงจำได้ว่า ปี 2536 มีเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานเคเดอร์ ที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ในครั้งนั้นมีคนตายไป 150 กว่าคน และในปีเดียวกันนั้นเอง โรงแรมรอยัลพลาซ่า ที่จังหวัดนครราชสีมา อยู่ดีๆพังทลายลงมา ครั้งนั้นมีคนตายไปเกือบ 200 คน และผ่านไปประมาณ 4 ปี พ.ศ. 2540 โรงแรมรอยัล จอมเทียน พัทยา จังหวัดชลบุรี เกิดเหตุเพลิงไหม้ มีคนตาย 100 คนเศษ ซึ่งทั้ง 3 เหตุการณ์นี้ ล้วนแต่ ก่อสร้างเสร็จและเปิดใช้อาคารแล้ว แต่มีคำถาม ว่า เหตุใดจึงเกิดอุบัติภัยเกิดขึ้น ? ทั้งที่ อาคารดังกล่าว ออกแบบ และควบคุมงานก่อสร้าง จากวิศวกร หลังจากก่อสร้างเสร็จ มีการใช้อาคาร ทำไมจึงพังลงมาและ มีเหตุอันตรายเกิดขึ้นอีก อย่างไรก็ดี เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก ระบบต่างๆที่เป็นองค์ประกอบของอาคารไม่ว่าจะเป็นระบบป้องกันอัคคีภัย ระบบไฟฟ้า ฯลฯ เมื่อมีการใช้งานไปนานๆ ประสิทธิภาพ ก็ถดถอยลง เหมือนรถยนต์ ใช้ไปก็ต้องบำรุงรักษา อาคารก็เช่นเดียวกัน เมื่อใช้ไประยะหนึ่ง ก็ต้องมีการซ่อมบำรุงให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ กฎหมายที่ออกมาจึงถือเป็นเรื่องดี ในการเพิ่มคุณภาพชีวิต และ ปกป้องทรัพย์สิน ของประชาชน แต่ในแง่ปฏิบัติจริงจะเกิดผลอย่างไร คงต้องขึ้นอยู่กับ ทางผู้ประกอบการ และ เจ้าหน้าที่ รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องทุกคน ซึ่งอีกไม่นานเราคงจะเห็นการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเราคาดว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดี กับคุณภาพชีวิต ของประชาชนคนไทยครับ |
อสังหาฯตีปีกรับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ดันราคาประเมินที่ดินพุ่ง 20%
นาย แคล้ว ทองสม ผู้อำนวยการสำนักประเมินราคาทรัพย์สิน (สปท.) กรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า สปท.กำลังติดตามความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ระยะทาง 23 กิโลเมตร อย่างใกล้ชิด เพราะหากมีความชัดเจนว่ารัฐบาลจะเดินหน้าก่อสร้าง และเปิดประมูลจนได้ตัวผู้รับเหมาก่อสร้างแล้ว จะต้องติดตามความเคลื่อนไหวของราคาที่ดินตามแนวเส้นทางว่าเปลี่ยนแปลงไปมาก น้อยแค่ไหน จากนั้นจะพิจารณาปรับราคาประเมินที่ดินใหม่ ซึ่งดูแนวโน้มแล้วอาจมีการปรับขึ้นอย่างน้อย 10-20% โดยเฉพาะพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าทุกสถานี เนื่องจากปี 2551 ที่ ผ่านมา ได้มีการปรับราคาประเมินที่ดินในพื้นที่เขตบางซื่อ ซึ่งอยู่บริเวณต้นทางของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงไปแล้ว แต่ย่านถนนรัตนาธิเบศร์ พื้นที่ในเขตเทศบาลนครนนทบุรี แถบบางใหญ่ บางบัวทอง ฯลฯ ยังไม่มีการปรับขึ้น ประกอบกับปัจจุบันตลอดสายทางมีการก่อสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าจะ เป็นบ้าน หรือคอนโดมิเนียมจำนวนมาก ส่งผลให้พื้นที่หลายบริเวณมีความเจริญมากขึ้น มูลค่าที่ดินจึงมีแนวโน้มสูงขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ก่อนจะพิจารณาปรับราคาประเมินจะส่งทีมเจ้าหน้าที่ลงสำรวจพื้นที่ เพื่อจัดเก็บข้อมูล จากนั้นจะปรับราคาประเมินให้สอดคล้องกับราคาซื้อขายหรือราคาตลาดให้มากที่ สุด *** ปรับผังเมืองนนท์รับรถไฟฟ้า ขณะที่แหล่งข่าวจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี (อบจ.) เปิดเผยเช่นเดียวกันว่า อบจ.นนทบุรีกำลังจะจ้างบริษัทที่ปรึกษา วงเงินกว่า 10 ล้าน บาท จัดเก็บรายละเอียดข้อมูลของจังหวัดนนทบุรี เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงผังเมืองรวมนนทบุรี ที่จะหมดอายุการบังคับใช้ในเดือนมีนาคม 2553 ในการ ดำเนินการดังกล่าวจะมีการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณแนวรถไฟฟ้า สายสีม่วง เพราะเมื่อมีรถไฟฟ้าพาดผ่านก็น่าจะเปิดให้มีการพัฒนาได้มากขึ้น ผังเมืองรวมเมืองนนทบุรีฉบับใหม่จึงควรปรับให้สอดคล้องกับการพัฒนาที่จะเกิด ขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตามปัจจุบันเริ่มมีอาคารสูงเกิดขึ้นมาก บริเวณริมถนนสายหลัก เช่น รัตนาธิเบศร์ พิบูลสงคราม แจ้งวัฒนะ ติวานนท์ กรุงเทพฯ-นนท์ เป็นต้น โดยขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาว่า จะนำแนวทางการกำหนดข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบเดียวกับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (กทม.) มาใช้หรือไม่ อย่างที่ดินในระยะ 500 เมตรในรัศมีสถานีรถไฟฟ้า จะให้โบนัสพิเศษแก่ผู้ประกอบการในการพัฒนามากขึ้น รวมถึงการนำสัดส่วนอาคารต่อเนื้อที่ดิน (FAR) และ OSR (อัตราส่วนของที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม) มาใช้ แต่ต้องรอดูข้อมูลจากบริษัทที่ปรึกษา และข้อมูลที่ได้จากการจัดประชาพิจารณ์ด้วย *** เปลี่ยน พท.สีเขียว เป็นที่อยู่อาศัย-พาณิชยกรรม แหล่ง ข่าวกล่าวต่อว่า โดยรวมพื้นที่เมืองนนท์ยังมีเหลือสำหรับการพัฒนาอีกจำนวนมาก แม้ตลอดสองข้างทางริมถนนสายหลักจะมีการพัฒนาเกือบเต็มพื้นที่แล้ว แต่มีที่เหลืออยู่ด้านหลังอีกไม่น้อย โดยเฉพาะฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา โซนบางใหญ่ ไทรน้อย บางบัวทอง ถนนกาญจนาภิเษก ฯลฯ มีที่ดินเป็นพื้นที่สีเขียวที่ยังไม่ได้พัฒนากระจายอยู่ทั่วไป ซึ่งการปรับผังเมืองรวมใหม่คราวนี้อาจปรับเปลี่ยนบางจุดให้เป็นพื้นที่ พาณิชย์ (สีแดง) ที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) เพื่อเปิดให้มีการพัฒนาเชิงพาณิชย กรรมและที่อยู่อาศัยได้มากขึ้น *** เพอร์เฟคเล็งซื้อที่ดินตุนเพิ่ม นาย ชายนิด โง้วศิริมณี กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาแม้โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงยังไม่เกิด แต่ผู้ประกอบการอสังหาฯมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอด โดยปีที่แล้วตลอดแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง มีการซื้อขายที่ดินหลายแปลงประมาณ 400-500 ไร่ เพื่อพัฒนาโครงการ โดยเฉพาะบริเวณถนนราชพฤกษ์ตัดใหม่ อาทิ กลุ่มคิวเฮ้าส์ พฤกษา แสนสิริ ฯลฯ เพิ่งมาชะลอตัวช่วงไตรมาสที่ 4 เพราะ ภาวะเศรษฐกิจและธุรกิจอสังหาฯซบเซาลง แต่คาดว่าช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะกลับมาดีขึ้น และจะมีการซื้อขายเปลี่ยนมือที่ดินมากขึ้น ที่สำคัญเมื่อรัฐบาลมีนโยบายชัดเจนว่าจะก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง และเปิดประมูลได้ตัวผู้รับเหมาแล้ว จะทำให้ตลาดบ้านคึกคักขึ้นอีก "นอก จากนี้ทำเลบริเวณนี้ยังได้อานิสงส์จากที่โครงการสะพานพระนั่งเกล้าขยายใหม่ แล้วเสร็จ ทำให้การเดินทางสะดวกมากขึ้น ได้รับอานิสงส์จากศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ และรัตนาธิเบศร์ ฯลฯ ยิ่งทำให้น่าสนใจมากขึ้นไปอีกทวีคูณ" ในส่วนของบริษัทมีที่ดินรอการพัฒนาอยู่ในทำเลดังกล่าวประมาณ 1,000 ไร่ กระจายอยู่หลายจุดทั้งรัตนาธิเบศร์ บางไผ่ ทั้งที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าและห่างออกไปเล็กน้อย โดยจะนำมาพัฒนาในปี 2552-2553 จำนวน 5 โครงการ มูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท ทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ คอนโดฯ ราคาตั้งแต่ 2 ล้านบาท ถึงกว่า 10 ล้านบาท "ปีนี้เรามีแผนจะซื้อที่ดินในโซนราชพฤกษ์เพิ่มอีก เพื่อรอพัฒนาโครงการในช่วง 2 ปีข้างหน้า เพราะเมื่อรถไฟฟ้าสร้างเสร็จ ราคาที่ดินจะแพงขึ้นไปอีก จากปัจจุบันราคาซื้อขายสูงขึ้น 20% จากช่วงก่อนหน้านี้" *** ชี้สายสีม่วงช่วยกระตุ้นดีมานด์ สอด คล้องกับความเห็นของนายกนก เดชาวาศน์ บริษัท โฮมเพลส ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด และนางสุวรรณา พุทธประสาท รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ควอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ที่มองว่า การเปิดซองราคารถไฟฟ้าสายสีม่วงถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าโครงการนี้จะเกิดขึ้น แน่นอน ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อตลาดอสังหาฯ ส่วนแนวคิดปรับราคาประเมินที่ดินช่วงนี้คงไม่ส่งผลทำให้ผู้ประกอบการปรับ ขึ้นราคาขายบ้าน เพราะเศรษฐกิจยังซบเซาและตลาดยังเป็นของผู้ซื้อ เห็นได้จากโครงการส่วนใหญ่จะขายบ้านในราคาต้นทุนเดิม ยกเว้นเป็นโครงการใหม่ที่ผู้ประกอบการซื้อที่ดินดิบมาพัฒนาภายหลังปรับขึ้น ราคาประเมินไปแล้ว อาจต้องตั้งราคาขายให้สอดรับกับต้นทุนที่แท้จริง ที่น่าสนใจคือความชัดเจนในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง จะเป็นตัวแปรช่วยกระตุ้นให้เกิดความต้องการซื้อบ้านตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า เพิ่มขึ้น นาง สุวรรณากล่าวต่อว่า ในส่วนของควอลิตี้ เฮ้าส์ ขณะนี้มีโครงการบ้านจัดสรรตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง ย่านราชพฤกษ์ ฯลฯ ที่อยู่ระหว่างเปิดขาย 5 โครงการ และปีนี้จากที่วางแผนเปิดตัวเพิ่มอีก 7-9 โครงการ รวมมูลค่า 1.1 หมื่นล้านบาท จะเป็นโครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง ได้แก่ ราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ และพระนั่งเกล้า 5 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 7,000 ล้านบาท ทั้แบรนด์คาซ่าแกรนด์ ลัดดารมย์ และพฤกษ์ภิรมย์ ที่มา ประชาชาติธุรกิจ 19/01/2552 |
http://www.tca.or.th/html/news_detail.asp?Lang=&id=3311&category_id=1
http://www.giggog.com/economic/cat5/news25540/
คอนโดฯผวาภาษีที่ดินปลูกสร้าง ราคาแพงยิ่งเสียมากห้องหรูหนักแน่ / กูรูแนะออกบทเฉพาะกาล
คอนโดฯทั่วประเทศ ผวา เจอพิษพ.ร.บ.ทรัพย์สินใหม่ ถูกถอนขนห่าน ตั้งแต่รากหญ้าถึงระดับบนไม่พ้นมือสรรพากร ยิ่งแพงยิ่งจ่ายหนักเผยห้องหรู 10 ล้านบาทเจอแน่ ผู้ประกอบการเชื่อไฮเอนด์พร้อมจ่าย แต่หวั่นแท้งก่อน ขณะที่ อธิปเตรียมเสนอบ้าน-คอนโดฯหลังแรกขอยกเว้น ส่วนมานพ พงศทัต ย้ำต้องออกบทเฉพาะกาล ชี้หลักการดีแต่ผิดเวลา
นายแคล้ว ทองสม ผู้อำนวยการสำนักประเมินราคาสินทรัพย์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เปิดเผยกับ ฐานเศรษฐกิจ ว่าจากกรณีที่รัฐบาลกำลังผลักดันร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างพ.ศ.....ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็วนั้น จะส่งผลกระทบต่อที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะ ประเภทอาคารชุด( คอนโดมิเนียม) ทั่วประเทศที่จะต้องเสียภาษีในอัตราเพดานสูงสุด 0.1 %ของราคาประเมิน ของที่ดิน บวกกับราคาสิ่งปลูกสร้างจากเดิมซึ่งที่อยู่อาศัยประเภทนี้ไม่เคยเสียภาษีมา ก่อนแต่โครงสร้างภาษีใหม่นั้นจะเข้าข่ายเสียภาษีทั้งหมด
อย่างไรก็ดี การประเมินจากมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนำมาคำนวณเป็นภาษีที่ต้องจ่ายใน อัตรา 0.10 % ซึ่งจะทำให้ห้องพักที่มีราคาสูงต้องจ่ายภาษีในราคาที่สูงตามไปด้วยส่วนห้อง พักราคาต่ำก็จ่ายตามสัดส่วนของราคาประเมิน ตัวอย่างเช่นห้องชุด 1 ห้อง ทำเล สีลม ราชดำริ ขนาด 80 ตารางเมตร มูลค่าซื้อขายตลาด 10,000,000 บาท แต่ราคาประเมิน ของกรมธนารักษ์ อยู่ที่ 8,000,000 บาท (ราคารวมที่ดินและทรัพย์ส่วนกลาง) เมื่อนำ ฐานภาษี 0.1 % ที่เป็นอัตราที่อยู่อาศัย หารด้วย 100 % แล้วคูณด้วย ราคาประเมิน 8,000,000 บาท ตัวเลขที่ออกมาคือ 8,000 บาท เป็นอัตราที่เจ้าของห้องชุดต้องนำไปเสียภาษีให้กับท้องถิ่นเป็นรายปี ทั้งนี้กระทรวงการคลังยังมีแนวคิดว่าจะยกเว้นการจัดเก็บภาษีดังกล่าวกับผู้ มีรายได้น้อย ได้แก่ ประชาชนชุมชนสลัม และที่อยู่อาศัยระดับราคาไม่เกิน 400,000 บาท เนื่องจากต่างประเทศ ได้มีการยกเว้น
นายแคล้ว ยังกล่าวอีกว่า หากกฎหมายมีผลบังคับใช้ กระทรวงการคลัง จะตั้งคณะกรรมการกำหนดอัตราฐานภาษีขึ้นมาหนึ่งชุด มีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน โดยจะพิจารณาจัดเก็บในอัตราขั้นต่ำก่อน เช่น ที่อยู่อาศัย เพดานสูงสุด 0.1 % ปีแรก อาจพิจารณาจัดเก็บ 0.02 หรือ 0.05 % ของมูลค่าทรัพย์สิน ตามราคาประเมิน ต่อปีโดยให้เวลา 3 ปี ที่จะค่อย ๆขยับฐานภาษีขึ้นไป
เช่น ปีที่ 1 เสียอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากที่อยู่อาศัย1,000 บาทต่อปี ปีที่ 2 เสีย 2,000 บาทต่อปี และปีที่ 3 เสีย 3,000 บาทต่อปี แต่เข้าปีที่ 4 จะกำหนดให้จัดเก็บได้เต็มเพดาน เช่น เพดานเต็มของที่อยู่อาศัยนั้นๆ 5,000 บาทต่อปีของมูลค่าทรัพย์สินตามราคาประเมินและในแต่ละปีจะต้องมีการประเมิน ราคาสินทรัพย์ว่ามีแนวโน้มปรับเพิ่มมากน้อยแค่ไหน
โดยเฉพาะราคาที่ดิน ที่อาจจะขยับปีละ 5-10 % ส่วนสภาพบ้านอาจมีเสื่อมลงบ้างตามกาลเวลา ส่วนการประเมินราคาที่ดินทั่วประเทศกว่า 30 ล้านแปลงนั้น ในเขตกรุงเทพมหานคร(กทม.) และปริมณฑลบางแห่ง ไม่มีปัญหาเพราะมีราคาประเมินเป็นรายแปลงทั้งหมดแล้ว ท้องถิ่นสามารถนำไปอ้างอิงได้แต่ในต่างจังหวัด ส่วนใหญ่ยังเป็นรายบล็อกโซน ซึ่งท้องถิ่นจะต้องคำนวณเองต่อไป
ด้านนายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เปิดเผยว่าปัจจุบันมีอาคารชุดที่เสนอขายอยู่ในตลาด 69,820 หน่วย ขายไปแล้ว 52,385 หน่วย เหลือขาย 17,443 หน่วย และในจำนวนนี้โอนไปแล้ว 13,337 หน่วย ทั้งนี้มีความเห็นว่า กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะเข้ามาทดแทนภาษีโรงเรือนนั้น หากจะมีการใช้อย่างเร็วที่สุดคือกลางปี 2553 อย่างช้าก็คงในปี 2554 และยังมีบทเฉพาะกาลให้ยกเว้นอีก 2 ปี ซึ่งก็น่าจะเริ่มใช้ได้ในปี 2555
ในส่วนตัวมองว่ามีความเป็นธรรมและไม่น่าจะสร้างความเดือดร้อนให้กับเจ้าของ ห้องชุดไม่ว่าจะเป็นคอนโดฯ กลุ่มลูกค้าระดับกลางหรือระดับสูงเพราะปัจจุบันก็ต้องเสียค่าส่วนกลางซึ่งมี ราคาแพงกว่าค่าภาษีรายปีแต่ก็ยังสามารถชำระได้ ขณะที่คอนโดมิเนียมระดับล่างบ้านเอื้ออาทร มีทั้งหมดประมาณ 280,000 หน่วยทั่วประเทศ
ส่วน นายแสนผิน สุขี รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนาโครงการหรู คิวเฮ้าส์ หลังสวน ไม่ขอออกความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวเนื่องจากยังไม่ได้มีรายละเอียดที่ ชัดเจนและเชื่อว่ากฎหมายดังกล่าวจะไม่สามารถออกมาบังคับใช้ได้
เช่นเดียวกับนายโอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนาคอนโดมิเนียมภายใต้ แบรนด์ลุมพินี ก็เชื่อว่ากฎหมายจะไม่สามารถผ่านสภาแน่นอน เพราะผู้ใหญ่ในบ้านเมืองจะเสียผลประโยชน์ แต่ถ้ากฎหมายออกมาได้จริงโดยเจ้าของห้องชุดจะต้องเสียภาษีทรัพย์สินจะเป็น การทำลายตลาดคอนโดฯ เพราะคนอาจจะสนใจเช่าอาศัยมากกว่าซื้ออยู่
ด้าน นายคณิสร์ แสงโชติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ต้นสน พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ผู้พัฒนาโครงการหรู เดอะสาธุ เรสซิเดนเซส ราคาขายตารางเมตรละ 120,000 บาท กล่าวว่า ในฐานะผู้ประกอบการไม่มีความคิดเห็นอะไรก็คงจะต้องปฏิบัติตามเพราะเป็น กฎหมาย สอดคล้องกับนายสุริยน พูลวรลักษณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมระดับไฮเอนด์ กล่าวว่า หากภาครัฐมีนโยบายที่จะเรียกเก็บภาษีที่อยู่อาศัยก็พร้อมที่จะยอมรับเพราะ ไม่ได้มากมายอะไร
ส่วนนายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย เปิดเผยว่า ถ้ากฎหมายมีผลบังคับใช้ จะกระทบผู้อยู่อาศัยบนอาคารชุดตั้งแต่ระดับรากหญ้าอย่างบ้านเอื้ออาทร ของการเคหะแห่งชาติ ไปจนถึงคอนโดมิเนียมหรู ที่ยังมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อีกอาทิ ค่าบริหารทรัพย์ส่วนกลาง ค่างวดรายเดือน ค่าใช้จ่ายประจำวัน ค่าน้ำค่าไฟ ค่าครองชีพ ฯลฯ ซึ่งสมาคมจะยื่นข้อเสนอต่อสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เพื่อขอยกเว้นกรณีผู้ที่ซื้อบ้านหลังแรก ไม่ต้องอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ได้แก่ ขนาดพื้นที่ของคอนโดมิเนียมไม่เกิน 100 ตารางเมตร และบ้านไม่เกิน 100 ตารางวา ส่วนรายที่ซื้อเป็นบ้านหลังที่สอง หรือ เพื่อเก็งกำไรหลายหลัง ก็ให้อยู่ในข่ายจัดเก็บ 0.1 % ตามเพดานที่กฎหมายกำหนด และจากการตรวจสอบ อาคารชุดที่อยู่ระหว่างเปิดขายในกทม. มีประมาณกว่า 30,000 หน่วย เฉลี่ย 1-3ล้านบาท ส่วนอาคารชุดระดับบน ซึ่งมีระดับราคาตั้งแต่ 8 ล้านบาทขึ้นไป และมีขนาดพื้นที่ค่อนข้างใหญ่ 70 ตารางเมตรขึ้นไปอยู่ในเขตใจกลางเมืองหรือ ย่านซีบีดี มากกว่า 10,000 หน่วย
ด้านรศ. มานพ พงศทัต อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาเคหะการ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าโดยหลักการแล้วเห็นด้วยอย่างเต็มที่เพราะจะทำให้ระบบการจัดเก็บภาษี ในประเทศไทยเกิดความยุติธรรมเป็นสากลมากยิ่งขึ้น แต่ไม่เห็นด้วยในแง่ของเวลาที่นำพ.ร.บ.นี้ออกมาบังคับใช้ เพราะไม่เหมาะสม อีกทั้งระบบการจัดเก็บภาษีใหม่นี้กระทบกับคนไทยทั่วประเทศ และควรจะทำในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นไม่ใช่ขาลง
ทั้งยังมีข้อเสนอแนะ คือ 1.แยกประเภทการจัดเก็บ โดยดูจากกฎหมาย ผังเมืองดูประเภทของการใช้พื้นที่ อาคารเป็นหลัก 2. แบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตในเมืองนอกเมือง ซึ่งฐานภาษีจะแตกต่างกัน และ 3. ขอให้ออกบทเฉพาะกาล ใช้เวลาสัก 2 ปี ให้มีการจัดเก็บแบบเป็นขั้นบันได จึงจะเหมาะสม เป็นการจัดเก็บแบบอัตราก้าวหน้า แบ่งพื้นที่เป็นในเมืองและชนบท ที่มีความแตกต่างกันในแง่ของการใช้ประโยชน์จากที่ดิน
เรื่องนี้ถือเป็นการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ซึ่งท้องถิ่นคงจะกำหนดอัตราที่เหมาะสม ส่วนการจัดเก็บภาษีห้องชุดซึ่งไม่เคยมี มาก่อนถือเป็นเรื่องที่เหมาะสม เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย คนในเมืองก็ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ด้วยไม่ควรยกเว้น
สำหรับร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพ.ศ... ได้มีการปรับปรุงมาแล้วโดยล่าสุด มี 3 อัตรา ได้แก่ ประเภทพาณิชยกรรม อัตรา 0.5 % ของมูลค่าทรัพย์สินตามราคาประเมินที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยอัตรา 0.1 % ของมูลค่าทรัพย์สินตามราคาประเมินที่ดินประเภทเกษตรกรรมอัตรา 0.05% ของมูลค่าสินทรัพย์ตามราคาประเมินที่ดิน และกรณีที่เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า อัตรา 0.5 % ของมูลค่าทรัพย์สินตามราคาประเมินที่ดิน หากไม่ใช้ประโยชน์ติดต่อกัน 3 ปี ให้จัดเก็บภาษีเพิ่มเป็น 2 เท่า จาก ร่างเดิมกำหนดให้เป็นโครงสร้างฐานภาษีอัตราเดียว คือ ทุกประเภทจัดเก็บในอัตราเท่ากันซึ่งไม่เป็นธรรม
เนื้อหาโดย : ฐานเศรษฐกิจ
กฎเหล็กกฎหมายที่ดินใหม่ค้างจ่ายค่าบำรุง6เดือนระงับจดทะเบียนสิทธิ
อ่าน (373)
คณะรัฐมนตรี มีมติวานนี้ (10 ก.พ.) เห็นชอบหลักการพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่...) พ.ศ..ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ มีสาระสำคัญดังนี้
การแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.จัดรูปที่ดินโดยสาระสำคัญที่น่าสนใจ คือ มาตรา 3 ให้ยกเลิกความมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 7 ให้มีคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการ อัยการสูงสุด เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง อธิบดีกรมชลประทาน และผู้ทรงคุณวุฒิอีกหกคน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความสามารถ หรือประสบการณ์ด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การผังเมือง การบริหารชุมชน หรือกฎหมาย เป็นกรรมการ และอธิบดีกรมที่ดินเป็นกรรมการและเลขานุการ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง ให้แต่งตั้งจากผู้แทนภาคเอกชน ซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไม่น้อยกว่ากึ่ง หนึ่ง"
มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 13 โดยให้มีคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดทุกจังหวัดดังนี้ (1) ในกรุงเทพมหานคร ให้มีคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย อธิบดีกรมที่ดิน เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนกรุงเทพมหานคร ผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง ผู้แทนกรมชลประทาน ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผู้ทรงคุณวุฒิอีกสี่คน ซึ่งปลัดกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งเป็นกรรมการ และผู้แทนกรมที่ดินเป็นกรรมการและเลขานุการ
(2) ในจังหวัดอื่น ให้มีคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือรองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด ปลัดจังหวัด โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด ผู้แทนกรมชลประทาน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และผู้ทรงคุณวุฒิอีกสี่คน ซึ่งปลัดกระทรวงมหาดไทย แต่งตั้งเป็นกรรมการ และเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ
มาตรา 5 แก้ไขมาตรา 28 ระบุว่า เมื่อได้ออกใบอนุญาตให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดินแล้ว ให้คณะกรรมการรีบส่งใบอนุญาตพร้อมทั้งแผนผัง โครงการ และวิธีการที่คณะกรรมการอนุญาตไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่ท้องที่จัดสรรนั้น เพื่อให้จดแจ้งในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ และเมื่อได้โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่แบ่งแยกเป็นแปลง ย่อยแล้ว ให้จดแจ้งไว้ในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์แบ่งแยกทุกฉบับ สำหรับที่ดินที่เป็นสาธารณูปโภคหรือที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะให้จดแจ้งด้วย ว่าที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นสาธารณูปโภค หรือใช้เพื่อบริการสาธารณะ
มาตรา 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นมาตรา 41/1 การโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค หรือที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะ ผู้รับโอนจะต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่ผู้จัดสรรที่ดินมีต่อผู้ซื้อ ที่ดินจัดสรร
มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 44 ผู้จัดสรรที่ดินจะพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามมาตรา 43 เมื่อได้มีการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ภายหลังจากครบกำหนดระยะเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินรับผิดชอบการบำรุงรักษา สาธารณูปโภคตามมาตรา 23 (5) แล้วตามลำดับดังต่อไปนี้
(1) ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ได้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามพระราชบัญญัตินี้ หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นเพื่อรับโอนทรัพย์สินดังกล่าวไปจัดการและดูแล บำรุงรักษา ภายในเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินกำหนด ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้จัดสรรที่ดิน หรือในกรณีที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลง ย่อย ตามแผนผังโครงการ ได้แจ้งให้ผู้จัดสรรที่ดินทราบว่า ประสงค์จะจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เพื่อรับโอนทรัพย์สินอันเป็นสาธารณูปโภคไปจัดการและดูแลบำรุงรักษา และได้มีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว
(2) ผู้จัดสรรที่ดินได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค หรือดำเนินการจดทะเบียนโอนทรัพย์สินดังกล่าว ให้เป็นสาธารณประโยชน์
การดำเนินการตามความในวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด ทั้งนี้ การดำเนินการตาม (1) ต้องกำหนดให้ผู้จัดสรรที่ดินรับผิดชอบจำนวนเงินค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภค ส่วนหนึ่งด้วย
เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาจด ทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตาม (1) แล้วให้ทรัพย์สินอันเป็นสาธารณูปโภคตกเป็นของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร โดยให้เจ้าหน้าที่จดแจ้งในโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หากไม่ได้โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาให้ถือว่าสูญหาย และให้เจ้าหน้าที่ออกใบแทน เพื่อดำเนินการดังกล่าวต่อไป
มาตรา 8 ยกเลิกความในวรรคสองมาตรา 50 โดยแก้เป็น ผู้ที่ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษา และการจัดการสาธารณูปโภค ตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปอาจจะถูกระงับการให้บริการหรือการใช้สิทธิใน สาธารณูปโภค
กรณีที่ค้างชำระตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจระงับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรของ ผู้ค้างชำระ จนกว่าจะชำระให้ครบถ้วน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
ที่มาของข้อมูล:
http://www.bangkokbiznews.com/home/news/politics/analysis/2009/02/11/news_15081.php
การแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.จัดรูปที่ดินโดยสาระสำคัญที่น่าสนใจ คือ มาตรา 3 ให้ยกเลิกความมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา 7 ให้มีคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการ อัยการสูงสุด เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง อธิบดีกรมชลประทาน และผู้ทรงคุณวุฒิอีกหกคน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความสามารถ หรือประสบการณ์ด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การผังเมือง การบริหารชุมชน หรือกฎหมาย เป็นกรรมการ และอธิบดีกรมที่ดินเป็นกรรมการและเลขานุการ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง ให้แต่งตั้งจากผู้แทนภาคเอกชน ซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไม่น้อยกว่ากึ่ง หนึ่ง"
มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 13 โดยให้มีคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดทุกจังหวัดดังนี้ (1) ในกรุงเทพมหานคร ให้มีคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย อธิบดีกรมที่ดิน เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนกรุงเทพมหานคร ผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง ผู้แทนกรมชลประทาน ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผู้ทรงคุณวุฒิอีกสี่คน ซึ่งปลัดกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งเป็นกรรมการ และผู้แทนกรมที่ดินเป็นกรรมการและเลขานุการ
(2) ในจังหวัดอื่น ให้มีคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือรองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด ปลัดจังหวัด โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด ผู้แทนกรมชลประทาน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และผู้ทรงคุณวุฒิอีกสี่คน ซึ่งปลัดกระทรวงมหาดไทย แต่งตั้งเป็นกรรมการ และเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ
มาตรา 5 แก้ไขมาตรา 28 ระบุว่า เมื่อได้ออกใบอนุญาตให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดินแล้ว ให้คณะกรรมการรีบส่งใบอนุญาตพร้อมทั้งแผนผัง โครงการ และวิธีการที่คณะกรรมการอนุญาตไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่ท้องที่จัดสรรนั้น เพื่อให้จดแจ้งในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ และเมื่อได้โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่แบ่งแยกเป็นแปลง ย่อยแล้ว ให้จดแจ้งไว้ในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์แบ่งแยกทุกฉบับ สำหรับที่ดินที่เป็นสาธารณูปโภคหรือที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะให้จดแจ้งด้วย ว่าที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นสาธารณูปโภค หรือใช้เพื่อบริการสาธารณะ
มาตรา 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นมาตรา 41/1 การโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค หรือที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะ ผู้รับโอนจะต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่ผู้จัดสรรที่ดินมีต่อผู้ซื้อ ที่ดินจัดสรร
มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 44 ผู้จัดสรรที่ดินจะพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามมาตรา 43 เมื่อได้มีการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ภายหลังจากครบกำหนดระยะเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินรับผิดชอบการบำรุงรักษา สาธารณูปโภคตามมาตรา 23 (5) แล้วตามลำดับดังต่อไปนี้
(1) ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ได้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามพระราชบัญญัตินี้ หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นเพื่อรับโอนทรัพย์สินดังกล่าวไปจัดการและดูแล บำรุงรักษา ภายในเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินกำหนด ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้จัดสรรที่ดิน หรือในกรณีที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลง ย่อย ตามแผนผังโครงการ ได้แจ้งให้ผู้จัดสรรที่ดินทราบว่า ประสงค์จะจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เพื่อรับโอนทรัพย์สินอันเป็นสาธารณูปโภคไปจัดการและดูแลบำรุงรักษา และได้มีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว
(2) ผู้จัดสรรที่ดินได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค หรือดำเนินการจดทะเบียนโอนทรัพย์สินดังกล่าว ให้เป็นสาธารณประโยชน์
การดำเนินการตามความในวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด ทั้งนี้ การดำเนินการตาม (1) ต้องกำหนดให้ผู้จัดสรรที่ดินรับผิดชอบจำนวนเงินค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภค ส่วนหนึ่งด้วย
เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาจด ทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตาม (1) แล้วให้ทรัพย์สินอันเป็นสาธารณูปโภคตกเป็นของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร โดยให้เจ้าหน้าที่จดแจ้งในโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หากไม่ได้โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาให้ถือว่าสูญหาย และให้เจ้าหน้าที่ออกใบแทน เพื่อดำเนินการดังกล่าวต่อไป
มาตรา 8 ยกเลิกความในวรรคสองมาตรา 50 โดยแก้เป็น ผู้ที่ค้างชำระเงินค่าบำรุงรักษา และการจัดการสาธารณูปโภค ตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปอาจจะถูกระงับการให้บริการหรือการใช้สิทธิใน สาธารณูปโภค
กรณีที่ค้างชำระตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจระงับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินจัดสรรของ ผู้ค้างชำระ จนกว่าจะชำระให้ครบถ้วน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
ที่มาของข้อมูล:
http://www.bangkokbiznews.com/home/news/politics/analysis/2009/02/11/news_15081.php
...yoU CAN ASK FOR NICE RESORT AT samoung district,CHIANG MAI province ALSO..
divide in each 500 sq metres about 1 milion bths ..NICE LAND REALESTATE STUFF!!!! inside foggy style mountain view!!!
and at nontaburi province my home get FULL CONVENIENT SPACE ABOUT 70 SQUAREMETRES of useful area and in nice land scape about 200 sq metres
3 KILOMETRE FROM BANGYAI JUNCTION NONTABUREE NEAR BANGKOK border line ABOUT 10 KILOMETRE
ONLY 6 MILLION BATHS for best 200 sqmtrs location home and garden on klong thanon street by canal tanon ,it is VERY HOT STUFF!!!!!VACANT 2 BEDROOMS 1 RESTROOM 1 CAR GARAGE NEAR CARFLU DEPARTMENT STORE BANGYAI DISTRICT ,NONTABUREE PROVINCE, TALING CHAN DISTRICT AND SOUTH BUS TERMINAL DESTINATATION ONLY 10 KILOMETRES ONLY 2KILOMETRES!!! FUTURE SKY TRAIN ON YOUR STREET NEAR ONLY 3KILOMETRES!!!
0816481962
0894761105
ด่วน
site map